ราเมงแบบถ้วยในร้านสะดวกซื้อหรือตามร้านราเมงที่ญี่ปุ่นจะขาดสองเมนูนี้ไปไม่ได้เลย นั่นก็คือ “คิตสึเนะอุด้ง” และ “ทานุกิโซบะ” แต่ทราบกันไหมว่าทั้งสองเมนูนี้มีชื่อมาจากสัตว์ 2 ชนิด เพราะคิตสึเนะ (Kitsune, キツネ) หมายถึง “สุนัขจิ้งจอก” และ ทานุกิ (Tanuki, タヌキ) หมายถึง “แรคคูน” นั่นเอง เราอาจจะสงสัยว่าชื่อสัตว์ทั้งสองมาอยู่ในเมนูโปรดของคนกินเส้นได้อย่างไร มาไขปริศนานี้ได้ในบทความนี้ค่ะ

“จิ้งจอก” และ “ทานุกิ” ในอุด้งและโซบะมีที่มาอย่างไร?

คิตสึเนะอุด้ง

คิตสึเนะอุด้ง

คิตสึเนะอุด้งมีวัตถุดิบหลักเป็นเต้าหู้ทอด (Abura-age, 油揚げ) วางอยู่บนอุด้ง เต้าหู้ทอดรสออกหวานเค็มเข้ากันได้อย่างลงตัวกับน้ำซุป ว่ากันว่าเหตุที่อุด้งท็อปด้วยเต้าหู้ทอดถูกเรียกว่า “คิตสึเนะ” ก็เพราะว่าเต้าหู้ทอดเป็นอาหารโปรดของสุนัขจิ้งจอก

จิ้งจอก

มีความเชื่อว่าสุนัขจิ้งจอกเป็นบริวารของ “เทพเจ้าอินาริ” ซึ่งท่านจะให้พรเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ถั่ว และลูกเดือย ในสมัยโบราณยังมีการถวายเต้าหู้ทอดให้กับศาลเจ้าอินาริ โดยเชื่อกันว่าที่ถวายเต้าหู้ทอดส่วนหนึ่งเป็นเพราะแสดงความขอบคุณต่อสุนัขจิ้งจอกด้วย เนื่องจากสมัยก่อนมีหนูเข้ามาทำลายทุ่งนาทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน ถือเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้คนมากเพราะไม่สามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้ จากนั้นสุนัขจิ้งจอกเข้ามาจับหนูเหล่านั้นทำให้ชาวบ้านปลูกข้าวได้ผล ว่ากันว่าของบูชาในตอนนั้นเป็นหนูที่เป็นของโปรดของสุนัขจิ้งจอก ชาวบ้านนำมาทอดและเรียกกันว่า “อาบุระอาเกะ” ต่อมาด้วยเหตุผลเรื่องบาปบุญจึงเปลี่ยนมาถวายเป็นอาบุระอาเกะที่ทำจากเต้าหู้ทอดแทน

ทานุกิโซบะ

ทานุกิโซบะ

เมื่อพูดถึงทานุกิโซบะ สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงเลยก็คือ “อาเกะดามะ” หรือแป้งทอดกรุบกรอบชิ้นเล็ก ๆ ที่เสิร์ฟมาในซอสซึยุ ตัวแป้งจะอ่อนนุ่มลงและให้อีกรสชาติที่อร่อยไปอีกแบบ

ทานุกิ

สาเหตุที่โซบะราดหน้าด้วยอาเกะดามะถูกเรียกว่า “ทานุกิ” หรือแรคคูน ก็เพราะว่าส่วนผสมนั้นเรียบง่าย ใส่เพียงอาเกะดามะและต้นหอมญี่ปุ่นเท่านั้นโดยไม่มีส่วนผสมอื่นที่เป็นผักมีเมล็ดอยู่เลย จึงเชื่อกันว่า “ทานุกิ” ผันมาจากคำว่า “ทาเนะนุกิ” (Tanenuki, たねぬき) ซึ่งแปลว่า “เอาเมล็ดออก” แต่บางทฤษฎีกล่าวว่าที่ชื่อของอาหารประเภทนี้เหมือนกับทานุกิหรือแรคคูน ก็เพราะว่าสีของอาเกะดามะดูเหมือนสีของเจ้าแรคคูนนั่นเอง

และนี่คือที่มาของคิตสึเนะอุด้งและทานุกิโซบะแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว แต่ละตามภูมิภาคก็ใช้ส่วนผสมที่แตกต่างกันออกไป เช่น คิตสึเนะ (เต้าหู้ทอด) และทานุกิ (อาเกะดามะ) ส่วนใหญ่จะใช้ในพื้นที่ทางตอนเหนือของภูมิภาคคันโต ส่วนในเกียวโต มีเมนูอังคาเคะอุด้ง ซึ่งตัวซุปจะข้นเหนียวเนื่องจากใส่แป้งมันด้วยคล้ายกับราดหน้าของไทย และราดด้วยเต้าหู้ทอดสับ เมนูนี้ก็เรียกว่าทานุกิเช่นเดียวกัน กล่าวคือแม้จะมีชื่อเหมือนกันแต่ก็มีวิธีการปรุงและการผสมผสานอาหารที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาคค่ะ

เรียบเรียงโดย Puk
ที่มา kurashiru

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า