สับปะรด เป็นผลไม้สีเหลืองทองที่มีก้านด้านบนยืดยาวออกมาจนดูเหมือนมงกุฎ ทำให้ใครต่อใครหลายคนมักเรียกว่าคือ “ราชาผลไม้” ซึ่งสับปะรดก็ยังจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่คนไทยเรารู้จักกันเป็นอย่างดี รสชาติเปรี้ยวอมหวานแสนอร่อยนั้นไม่ว่าจะนำมารับประทานกินสด นำมาปั่นเป็นน้ำผลไม้กินแก้กระหาย หรือนำไปใส่ลงในอาหารก็สามารถสร้างสรรเมนูอาหารได้มากมายหลากหลายชนิด คนญี่ปุ่นเองก็ชอบรับประทานสับปะรดไม่ต่างจากบ้านเราค่ะ แต่ว่าสับปะรดที่ญี่ปุ่นนั้นจะมีเรื่องราวต่างจากของไทยอย่างไรบ้าง? วันนี้จะมาเล่าให้ฟังค่ะ!

สับปะรดที่อร่อยคือสับปะรดในช่วงต้นฤดูร้อน?

pieapple half rounf hand

สับปะรด เป็นผลไม้ที่มีราคาจำหน่ายไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับผลไม้ชนิดอื่น และยังเป็นผลไม้ที่สามารถหารับประทานได้ง่ายตลอดทั้งปีอีกด้วย โดยคนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าหน้าของสับปะรดที่อร่อยที่สุดคือช่วง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม หรือก็คือต้นฤดูร้อนค่ะ

หากเราย้อนกลับไปถึงที่มาของสับปะรด เราจะพบว่าเจ้าผลไม้ชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ โดยสามารถเพาะปลูกผลได้ตลอดทั้งปีในพื้นที่ที่อากาศอบอุ่น ในญี่ปุ่นเองถ้าไม่นับการปลูกในอาคารเรือนกระจก การปลูกสับปะรดจะพบได้แค่ที่ จังหวัดโอกินาว่า เท่านั้น

แต่ทั้งนี้ แม้จะไม่สามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ในญี่ปุ่นก็จริง แต่ก็ยังหาทานได้เพราะมีการนำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายตลอดทั้งปีค่ะ จึงเป็นที่มาให้ราคาสับปะรดในญี่ปุ่นไม่ค่อยได้รับผลกระทบเหมือนผลไม้ชนิดอื่นเท่าใดนักอีกด้วย

*เกร็ดความรู้*
Japan Agricultural Cooperatives (JA) จังหวัดโอกินาว่า ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 1 สิงหาคม ของทุกปีเป็น วันสับปะรด และบริษัทผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องรายใหญ่ Dole ก็กำหนดให้ทุกวันที่ 17 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันสับปะรดเช่นกันค่ะ

fruite juice dole
น้ำสับปะรดและน้ำผลไม้อื่นๆ ของบริษัท Dole (เครดิตภาพ : XROSSX)

แท้จริงแล้วสับปะรดจัดเป็น “ผลไม้” หรือ “ผัก” กันแน่?

pieapple farm closeup

คนญี่ปุ่นหลายคนมักสับสนและสงสัยกันว่าสับปะรดนั้นแท้จริงแล้ว คือ “ผัก” หรือ “ผลไม้” ? ซึ่งความจริงแล้วสับปะรดถูกจัดให้เป็น “ไม้ล้มลุก” ชนิดหนึ่งค่ะ หากเรามาดูคำจำกัดความระหว่าง “ผัก” กับ “ผลไม้” ก็จะพบได้ตามด้านล่างนี้คือ

“ผัก” ในวงการการปลูกพืชในสวนหรือเรือนกระจก ผักจะถือว่าเป็นพืชที่นำเอามาทำเป็นอาหารที่กินกับอาหารหลักหรือกับข้าว

“ผลไม้” ตามคำจำกัดความของกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงของญี่ปุ่น ผลไม้ คือ ไม้ล้มลุก (Herbaceous Plant) หรือพืชที่มีเนื้อไม้ (Woody Pant) ที่ต้องใช้เวลาในการปลูก 2 ปีขึ้นไป และนำผลที่ได้นั้นมารับประทานหรือทำเป็นอาหาร (ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ ไม่ได้อธิบายถึงคำจำกัดความของผักเอาไว้ในเว็บไซต์)

และในหน้าเว็บไซต์เพจการจำแนกผลไม้ตามภูมิภาคและเว็บไซต์ JA โอกินาว่า ในหน้า “เพจเกี่ยวกับผลไม้” จะพบสับปะรดปรากฎรูปอยู่ในเพจนี้ จึงถือได้ว่าสับปะรดถูกจัดให้ถือว่าเป็น ผลไม้ นั่นเองค่ะ

จำนวนพลังงานแคลอรี่ของสับปะรดและสารอาหารที่สำคัญ

pieapple half cover

สับปะรดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารและวิตามินมากมาย โดยเฉพาะวิตามินซีใน 100 กรัม จะถือว่ามีวิตามินซี 35 มิลลิกรัม และแร่แมงกานีสใน 100 กรัม จะถือว่ามีแร่แมงกานีส 1.33 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามีมากเป็นพิเศษ ในส่วนของเส้นใยอาหาร 100 กรัม จะมีใยอาหารถึงที่ 1.33 มิลลิกรัม

เอนไซม์ “บรอมีเลน” ในสับปะรด ทำให้รู้สึกแสบลิ้นตอนรับประทาน?

pieapple eat hurt

คิดว่าก็คงมีผู้อ่านบางคนที่เวลารับประทานสับปะรดแล้วจะรู้สึกแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้นกันใช่ไหมคะ? สาเหตุของอาการดังกล่าวก็มาจากการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อว่า “บรอมีเลน (Bromelain)” ที่มีอยู่ในสับปะรดค่ะ โดยเอนไซม์นี้มีคุณสมบัติในการช่วยย่อยสลายโปรตีน ไม่ให้โปรตีนตกค้างในลำไส้ ซึ่งตามปกติแล้วที่ลิ้นของเราก็จะมีโปรตีนตามธรรมชาติเคลือบผิวหน้าลิ้นอยู่ เมื่อรับประทานสับปะรดเข้าไป เจ้าเอนไซม์บรอมีเลนนี้ ก็จะไปทำหน้าที่ย่อยโปรตีนบนลิ้นของเรา จึงทำให้เรารู้สึกแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้นนั้นเองค่ะ แต่ไม่ต้องตกใจหรือวิตกเป็นกังวลไปนะคะ เพราะเมื่อเราหยุดรับประทานสัปปะรดแล้ว ลิ้นของเราก็จะทำการสร้างโปรตีนขึ้นใหม่อีกครั้งเพื่อมาเคลือบลิ้นของเรา อาการรู้สึกแสบหรือชาที่ลิ้นดังกล่าวก็จะหายไปเองค่ะ

สับปะรดยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เอนไซม์บรอมีเลนในสับปะรดสามารถนำมาทำเป็นยาทา (ยาหม่อง) ซึ่งมีสรรพคุณกำจัดเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่ตายจากแผลกดทับได้ดี ช่วยให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวสามารถผลิตและสร้างเนื้อหรือเซลล์ใหม่ได้รวดเร็วขึ้นค่ะ

ที่เกาหลี ซึ่งเป็นประเทศที่สามารถหาซื้อสับปะรดได้ง่ายเอง ก็มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทำ “น้ำส้มสายชูหมักสับปะรด” หรือที่ถูกจัดให้เป็น “น้ำส้มสายชูเพื่อความงาม” โดยวิธีทำก็ยังแสนง่ายดาย สามารถทำได้เองที่บ้าน เพียงแค่หั่นสดแล้วนำไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำส้มสายชูยี่ห้อที่ชอบก็เป็นอันเสร็จแล้ว

tea pot

ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การที่จะทำให้เอนไซม์ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด ต้องคำนึงถึง “ค่า pH” และ “อุณหภูมิที่เหมาะสม” ด้วย โดยในกรณีของยาทาที่วางจำหน่ายตามท้องตลาดนั้น สารที่อยู่ภายในตัวยาได้รับการคิดค้น มีการปรับส่วนผสมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้สามารถช่วยกำจัดเชื้อโรค รักษาแผลเนื้อตายได้ แต่ในกรณีของน้ำส้มสายชูที่ทำขึ้นเองที่บ้านนั้น คุณสมบัติของกรดจะลดน้อยลง ค่า pH ที่ได้ก็จะลดลงตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นยังขึ้นอยู่กับจำนวนชั่วโมงในการหมักน้ำส้มสายชูอีกด้วย

ทั้งนี้ การบริโภคน้ำส้มสายชูหมักสับปะรด ถือว่าเป็นการบริโภคเอนไซม์ที่ตายแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแม้จะบริโภครับประทานเข้าไปก็ตาม แต่ถึงแม้ว่าเอนไซม์สับปะรดนี้จะตายไปแล้ว แต่ว่าเมื่อรับประทานเข้าไป ก็สามารถพูดได้ว่าเอนไซม์ยังคงสามารถที่จะเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ช่วยในเรื่องของสุขภาพได้เหมือนกับ “แลคโตบาสิรัส” ที่พบในโยเกิร์ตอยู่ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องดูและรอผลการวิจัยที่ถูกต้องต่อไปในอนาคตนะคะ

ถ้าไม่อยากรู้สึกแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้น แนะนำให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้!

อย่างที่กล่าวไปว่าการทำงานของเอนไซม์บรอมีเลนทำให้เกิดอาการแสบหรือชาที่ลิ้นเวลาทาน แต่ถ้าใครไม่อยากมีอาการดังกล่าว แนะนำว่า ควรเลี่ยงสับปะรดสดไปเลย (แต่ใคร ๆ ก็อยากกินสับปะรดสดมากกว่าเนอะ) หรือวิธีที่ทำง่ายที่สุดก็คือ หยุดรับประทานสับปะรดแล้วรอให้ลิ้นของเราสร้างโปรตีนเพื่อมาเคลือบลิ้นของเราใหม่อีกครั้ง อาการรู้สึกแสบหรือชาที่ลิ้นดังกล่าวก็จะหายไป แต่ก็มีบางความเชื่อที่ว่า ถ้ารู้สึกแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้นให้ รับประทานโยเกิร์ตหรือนม ดู ก็จะช่วยลดอาการแสบละคายเคืองดังกล่าวได้เช่นกัน

can
ตัวอย่างสัปปะรดกระป๋องยี่ห้อ SUNYO (เครดิตภาพ : XROSSX)

อีกหนึ่งวิธีแนะนำคือ ให้นำมาทำเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร เช่น ทำเป็นหมูผัดเปรี้ยวหวาน หรือเลือกที่จะรับประทานเป็นสับปะรดกระป๋องแทน เพราะสับปะรดกระป๋องนั้นตัวสับปะรดจะถูกนำไปแช่ในน้ำเชื่อม ทำให้เอนไซม์บรอมีเลนนั้นถูกทำลายไป จึงไม่ทำเกิดอาการแสบลิ้น ยิ่งไปกว่านั้น “สับปะรดกระป๋องสามารถเก็บเป็นอาหารยามฉุกเฉินได้” อีกด้วย

เก็บสับปะรดยังไงให้อยู่ได้นาน?

pieces

ถ้าในกรณีที่สับปะรดยังเป็นลูกไม่ได้ถูกปอกเปลือกหรือผ่าเป็นชิ้น ๆ ก็สามารถเก็บวางไว้ในอุณหภูมิห้องได้ แต่ทว่าสับปะรดนั้นเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน ถ้าเรารู้สึกได้ถึงกลิ่นหวาน ๆ ออกมาจากสับปะรดที่ยังไม่ถูกปอกเปลือกก็ให้รู้ได้ว่าสับปะรดกำลังจะเสียแล้ว ดังนั้นให้รีบปอกเปลือก หั่นแล้วรีบรับประทานให้หมดภายใน 1 – 2 วัน จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ

แล้วถ้ามีการหั่นออกมาเป็นชิ้นๆ แล้ว ก็ควรนำไปแช่เย็นในตู้เย็นทันที ในกรณีที่แช่เย็นในช่องธรรมดา เพื่อไม่ให้กลิ่น ติดไปกับอาหารชนิดอื่นที่อยู่ในตู้เย็น เมื่อหั่นแล้วควรที่จะนำแร็พหรือฟิล์มพลาสติกห่ออาหารมาห่อคลุกไว้ ก็จะช่วยยืดอายุรวมไปถึงรสชาติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

cut slide

ในกรณีที่นำไปแช่เย็นในช่องแช่แข็ง ก็ให้แบ่งปริมาณสับปะรดออกให้พอดีกับจำนวนที่จะรับประทานในแต่ละหนึ่งครั้ง แล้วจึงนำแร็พหรือฟิล์มพลาสติกห่ออาหารมาห่อคลุกไว้ ค่อยนำไปเข้าช่องแช่แข็งค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้ว วิธีนี้สับปะรดจะสามารถเก็บอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่จะอยู่ได้นานขนาดไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนนำไปแช่แข็ง สับปะรดมีสภาพเป็นเช่นไรด้วย อีกทั้งความสามารถของตู้เย็นที่เราใช้ ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญเช่นกันค่ะ

ในกรณีของผู้เขียนนั้นคิดว่าถ้าแช่สับปะรดไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะมีน้ำแข็งเกิดเกาะขึ้นที่สัปปะรด ซึ่งจะทำให้รสชาติความอร่อยนั้นหายไป ดังนั้นควรจะรีบประทานให้หมด อย่าเก็บไว้นานเกินไปจะดีที่สุดค่ะ

frozen

ในครั้งนี้เราก็ได้มาเล่าอธิบายถึงสาเหตุที่ว่าทำไมเมื่อรับประทานสับปะรดเข้าไปแล้วจึงเกิดอาการแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้น ก็อยากให้ผู้อ่านทุกท่านทราบกันไว้ว่า ผลไม้เมืองร้อนส่วนใหญ่แล้วนั้น จะมีเอนไซม์ที่ช่วยละลายโปรตีนเป็นส่วนประกอบในตัวผลไม้ค่ะ ดังนั้นถ้าเรารับประทานผลไม้ชนิดใดเข้าไปแล้วเกิดอาการแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้นก็อย่าพึ่งตกอกตกใจกันไปนะคะ ลองหยุดรับประทานผลไม้นั้น แล้วทิ้งไว้สักพักอาการแสบลิ้นหรือชาที่ลิ้นก็จะหายไปเองค่ะ ทั้งนี้ ผลไม้ทุกชนิดนอกจากที่จะอร่อยและช่วยให้รู้สึกสดชื่นแล้ว แต่ผลไม้ก็มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบค่อนข้างสูง ก็เลือกรับประทานกันแต่พอดี เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกท่านกันนะคะ

สรุปเนื้อหาจาก : allabout.co.jp

เรียบเรียงโดย : XROSSX

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า