หากใครที่พูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น ต้องมีสงสัยกันบ้างแน่ ๆ ว่า ทำไมคำว่า “แมนชั่น” ในภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นจึงมีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้ง ๆ ที่สะกดเหมือนกันแท้ ๆ แต่ทำไมคำจำกัดความถึงได้แตกต่างกัน และมันเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ตอนไหน วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

การกำเนิด “แมนชั่น” ในญี่ปุ่น ความเป็นคฤหาสน์ที่แฝงไว้ในคำเรียก?

แมนชั่น

ญี่ปุ่นเริ่มใช้คำว่า “อพาร์ทเมนต์” ก่อนคำเรียกอื่น ๆ  ภายหลังจากนั้น ในปี 1960 คำว่า “แมนชั่น” จึงได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก และกลายเป็นที่รู้จักในความหมายของ อาคารชุดสุดหรูหรา ซึ่งด้วยการที่ใช้คำว่า “แมนชั่น” ที่มีความหมายเชื่อมโยงถึงคฤหาสน์ ทำให้ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์์พยายามสร้างอาคารให้มีระดับตามความหมายนั้น

คฤหาสน์

ขณะเดียวกัน ในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษทั้งอังกฤษและอเมริกา มักจะเรียกรวมกลุ่มอาคารชุดทั้งอพาร์ทเมนต์และแมนชั่นในญี่ปุ่นว่า “อพาร์ทเมนต์” และจะมีแนวคิดเรื่อง “แมนชั่น = คฤหาสน์” โดยในภาษาอังกฤษนั้น แมนชั่นคือที่อยู่อาศัยของคนรวย เป็นคฤหาสน์หรูที่มีสวนและสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ ดังนั้น หากคนญี่ปุ่นบอกกับคนต่างชาติว่าตัวเองอาศัยอยู่ในแมนชั่น ก็อาจถูกเข้าใจผิดได้ว่าอาศัยอยู่ในคฤหาสน์นั่นเอง

เพราะอะไร “อพาร์ทเมนต์” จึงกลายเป็น “แมนชั่น” ในญี่ปุ่น

อพาร์ทเมนต์

ญี่ปุ่นยุคโชวะ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นอย่างสูง การอาศัยอยู่ร่วมกับคนจำนวนมากในอาคารชุดก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้ภาพลักษณ์ของความหรูหราค่อย ๆ เลือนหายไป ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ อพาร์ทเมนต์ซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับ “ดันจิหรือกลุ่มอาคารอพาร์ทเมนต์สาธารณะ” ทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ค่อยดี ต่อมาเมื่อมีการสร้างและขายห้องชุดอพาร์ทเมนต์ที่หรูหรามากขึ้น จึงจำเป็นต้องขจัดภาพลักษณ์ดั้งเดิมและตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า “แมนชั่น”

ความแตกต่างระหว่าง “แมนชั่น” และ “อพาร์ทเมนต์”

แมนชั่น อพาร์ทเมนต์

แม้ว่าปัจจุบันแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์จะหมายถึงอาคารที่อยู่อาศัย แต่ก็ไม่ได้มีความแตกต่างทางกฎหมายที่ชัดเจน ทั้งนี้อิมเมจของสองอย่างนี้จะแตกต่างกันตรงที่แมนชั่นมักจะให้ภาพของที่อยู่อาศัยที่มีค่าเช่าสูงกว่อพาร์ทเมนต์ อันมีที่มาจากความหมายแฝงเดิมของ “คฤหาสน์” โดยจะมีลักษณะเป็นอาคารสูง มีลิฟต์ มีระบบออโต้ล็อค และมีโถงทางเดินเข้าสู่อาคาร เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วคนญี่ปุ่นก็ยังวิธีเลือกตัดสินว่าที่อยู่อาศัยแบบไหนที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอีกด้วย ใครสนใจอ่านกันต่อได้ที่บทความ “บ้าน” หรือ “แมนชั่น” คนญี่ปุ่นตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยจากอะไร

จะเห็นได้ว่า คำที่มาจากภาษาต่างประเทศของญี่ปุ่นนั้น มีหลายคำเลยนะคะ ที่ความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากต้นฉบับ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความหมายตามสถานที่และบริบท ณ ตอนนั้น ๆ หากเราได้มีโอกาสใช้คำดังกล่าว ก็ควรศึกษาความหมาย รวมถึงวิธีใช้ให้ดี จะได้ไม่ใช้ผิดความหมาย เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้นั่นเองค่ะ

สรุปเนื้อหาจาก: daikyo-anabuki, homes.co

Saruko-chan

เล่าเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับญี่ปุ่น นำเสนอเสน่ห์ของญี่ปุ่นให้ทุกคนได้เห็นในหลากหลายแง่มุม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า