นายโมริยามะ มาซาฮิโตะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) เสนอต่อทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่นในที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา ให้มีการพิจารณาเปลี่ยน ‘การถอดอักษรญี่ปุ่นเป็นอักษรโรมาจิ’ จากเดิมแบบคุนเร (訓令式) เป็นแบบเฮบง (標準式) เพื่อความเป็นสากล เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน และสามารถสื่อสารเข้าใจได้ง่ายแม้ในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่

เมื่อการถอดเสียงโรมาจิแบบ “เฮบง” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น!

รัฐบาลญี่ปุ่นนั้นประกาศใช้การถอดเสียงเป็นอักษรโรมัน (หรืออักษรโรมาจิ) ‘แบบคุนเร’ เป็นพื้นฐานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 และมีการสอนในหลักสูตรการเรียนทั่วประเทศ ขณะที่ ‘แบบเฮบง’ นิยมใช้ในการเขียนป้ายบอกทาง บอกชื่อสถานีรถไฟ รวมถึงการสะกดชื่อในพาสปอร์ต และคาดว่าในอนาคตชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะใช้ ‘แบบเฮบง’ เพิ่มมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ทบวงวัฒนธรรมญี่ปุ่น เคยทำแบบสำรวจชาวญี่ปุ่นเกี่ยวกับ ‘การถอดเสียงแบบคุนเร หรือแบบเฮบง แบบไหนเรียนง่ายกว่ากัน’ เมื่อปี 2023 ที่ผ่าน แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ซึ่งคาดว่าจะมีการสำรวจในเรื่องนี้อย่างละเอียดอีกครั้งภายในปีงบประมาณนี้ และอาจทำให้ญี่ปุ่น มีการเปลี่ยนการถอดอักษรญี่ปุ่นเป็นอักษรโรมาจิในรอบ 70 ปี ก็เป็นได้!

บทความที่เกี่ยวข้อง: รู้หรือไม่? โรมาจิที่ใช้กันในปัจจุบันไม่ได้มีแค่แบบเดียว!
สรุปเนื้อหาจาก : nhk

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า