ผู้หญิงทุกคนไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีประสบการณ์กับ “วันนั้นของเดือน” กันใช่ไหมคะ แม้ว่าในปัจจุบันผ้าอนามัยจะเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ยาก อีกทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกใช้มากมายตามจุดประสงค์ที่ต้องการ ว่าแต่แล้วผู้หญิงสมัยก่อนเขาใช้ผ้าอนามัยกันแบบไหนนะ? พอคิดดูก็น่าจะลำบากพอสมควรเลย 

ผ้าอนามัยที่ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะถูกใช้เมื่อในอดีต

เมื่อเราลองสืบค้นประวัติเกี่ยวกับผ้าอนามัยในญี่ปุ่นดูจะพบความคิดต่างๆ ที่ให้เหตุผลว่าผู้หญิงสมัยก่อนไม่มีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัยเลย เช่น

“ ในอดีตอายุขัยของผู้หญิงไม่ได้ยืนยาวมากนัก ไหนจะต้องมีการตั้งครรภ์บ่อย รอบประจำเดือนถือว่ามีมาแค่ไม่กี่ครั้ง ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัย” 

“ผู้หญิงสมัยก่อนถือว่ากล้ามเนื้อส่วนล่างของกระดูกบั้นเอวมีความแข็งแรง ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิงในสมัยปัจจุบัน จึงทำให้สามารถควบคุมการมาของประจำเดือนได้ และจะมีประจำเดือนเมื่อเวลาเข้าห้องน้ำเท่านั้น” 

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีคนเชื่อและให้เหตุผลเช่นนั้น ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ที่ในสมัยอดีตมีผู้หญิงเป็นเช่นนั้นจริง แต่ก็ใช่ว่าผู้หญิงทุกคนจะเป็นแบบนั้นได้ทุกคน ทั้งนี้ทั้งนั้นความคิดและเหตุผลดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่าผ้าอนามัยมีใช้มาตั้งแต่สมัยอดีตแล้ว 

โดยจากบันทึก “หัวใจแห่งแพทย์ศาสตร์” ตำราทางการแพทย์ที่เก่าที่สุดของญี่ปุ่นที่ถูกถวายต่อจักรพรรดิเอ็นยู สมัยเฮอัน  ได้มีการระบุเอาไว้ว่าในสมัยนั้นเรียกผ้าอนามัยว่า “เคกะเรนุโนะ” (月帯) หรือ “ผ้าประจำเดือน” โดยจะเป็นผ้าที่มีการทำรูปทรงให้ออกมามีลักษณะคล้ายกับผ้าเตี่ยว เวลานำมาใช้ก็จะสอดผ้ารับเลือดเอาไว้ตรงกลางเสียก่อน แต่อย่างไรก็ตามผู้หญิงที่จะสามารถใช้ผ้าอนามัยเเบบนี้ได้ก็มีแต่ผู้หญิงที่มาจากตระกูลสูงศักดิ์เท่านั้น 

ว่าแต่แล้วคนสามัญชนทั่วไปเขาใชอะไรกันล่ะ? ในบันทึกมีระบุไว้บ้างว่าก็นำเอาผ้าเก่าหรือผ้าอนามัยเคกะเรนุโนะที่เหล่าผู้หญิงสูงศักดิ์ไม่ใช้เเล้วมาทำการใช้ต่อ ในส่วนของผ้ารับเลือดนั้นก็มีการเชื่อกันว่าได้ใช้ใบไม้มาใส่ไว้แทน กระทั่งเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป จากการใช้ใบไม้ก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้กระดาษแบบญี่ปุ่นแทนในที่สุด

ผ้าอนามัยแบบปัจจุบันเกิดขึ้นหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยเมจิ ก็มีการเปลี่ยนจากการใช้กระดาษแบบญี่ปุ่นมาเป็นการใช้สำลีแผ่นแทน โดยจะนำสำลีแผ่น สอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อซับเลือดประจำเดือนโดยตรงเหมือนกับผ้าอนามัยแบบสอดในปัจจุบัน ในส่วนของผ้าเตี่ยวนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนมาเป็นการใช้ยางผูกแทนบ้าง เปลี่ยนมาเป็นแบบผูกข้างบ้าง เป็นต้น

แต่ทว่าในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การใช้สำลีแผ่นก็ถูกห้ามใช้ เลยเปลี่ยนมาเป็นใช้กระดาษผ้าฝ้ายแทน และรูปแบบของผ้าอนามัยที่ใช้กันในปัจจุบันนั้นก็เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไป 16 ปีหรือเท่ากับปี ค.ศ. 1961 (ปีโชวะที่ 31)  โดยผ้าอนามัยยี่ห้อแรกที่ออกวางจำหน่ายคือ “ผ้าอนามัยอันเนะ” ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับดีกว่าสำลีแผ่นถึง 5 เท่า และสามารถทิ้งลงโถส้วมหลังการใช้ได้อีกด้วย ผ้าอนามัยดังกล่าวได้รับความนิยมเนื่องจากชูคอนเซ็ปต์ที่ว่า “ความสะดวกสบายแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ผ้าอนามัยแบบถูกสุขลักษณะอนามัย” ต่อมาวันประจำเดือนก็ได้ถูกเรียกให้เป็น “วันแห่งอันเนะ” ซึ่งสืบเนื่องมาจากความนิยมฮิตติดตลาดของผ้าอนามัยยี่ห้อนี้นั่นเอง กระทั่งในปี ค.ศ.1978 (ปีโชวะที่ 53) ก็ได้เกิดผ้าอนามัยที่มีการใช้สารดูดซับโมเลกุลขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ช่วยในการดูดซับประจำเดือนได้ดีกว่าเดิม รวมถึงลักษณะของผ้าอนามัยก็ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นผ้าอนามัยแบบบางสวมใส่ง่ายอีกด้วย

ในปัจจุบันนอกจากผ้าอนามัยทั่วไปทั้งแบบปกติและแบบสอดจะสามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตแล้วยังมีถ้วยอนามัย ผ้าอนามัยแบบผ้านำไปซักแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และผ้าอนามัยแบบกางเกงใน “Moon Pants” ให้เลือกซื้อใช้กันได้ตามความชอบเลยทีเดียว ถือได้ว่าสะดวกสบายมากขึ้นเยอะจนเรียกได้เลยว่าผู้หญิงสมัยก่อนถ้าได้มาเห็นความหลากหลายของผ้าอนามัยในปัจจุบันคงตกใจกันตาค้างเป็นแน่เลยค่ะ

เรียบเรียงโดย XROSSX
ที่มา mag.japaaan

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า