ทุกคนทราบไหมคะว่า นิยายเรื่องแรกของโลกเป็นนิยายญี่ปุ่น! มีชื่อว่า “ตำนานเก็นจิ” (The Tale of Genji / 源氏物語) เป็นงานวรรณกรรมคลาสสิกที่เขียนขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 11 หรือช่วงกลางสมัยเฮอัน โดยสตรีชั้นสูงในราชสำนักมีนามว่า “มุราซากิชิกิบุ” เรื่องราวบรรยายถึงสังคมชนชั้นสูงในสมัยเฮอัน การเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณี ผ่านตัวละครหลักที่ชื่อว่า “ฮิคารุ เก็นจิ” ในบทความนี้จะพาทุกคนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ที่บอกเล่าเรื่องราวของตัวแม่แห่งวงการวรรณกรรมญี่ปุ่นคนนี้กันค่ะ!

มุราซากิชิคิบุคือใคร ?

 
 
 
 
 
この投稿をInstagramで見る
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

紫ゆかりの館(@info_murasaki)がシェアした投稿

“มุราซากิชิคิบุ”(Murasaki Shikibu , 紫式部) เป็นนักเขียน นักกวี และสตรีในราชสำนักในช่วงกลางยุคเฮอัน (ค.ศ.794 – 1185) ในสมัยเฮอันเอกสารราชการถูกเขียนด้วยอักษรคันจิ ซึ่งอักษรดังกล่าวมีแค่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถใช้ได้ ต่อมาในศตวรรษที่ 8 ได้มีการดัดแปลงอักษรคันจิหรืออักษรจีน ให้เป็นอักษรฮิรางานะ ซึ่งได้รับความนิยมในกลุ่มนักเขียนสตรี ทำให้กลอนญี่ปุ่นหรือวะคะ และวรรณกรรมประเภทร้อยแก้วได้รับความนิยมมากขึ้น เธอเกิดมาในตระกูลฟูจิวาระ ซึ่งเป็นตระกูลชนชั้นสูงระดับแถวหน้าของญี่ปุ่น ว่ากันว่าเธอมีพรสวรรค์เรื่องการอ่านเขียนมาตั้งแต่เด็ก พ่อของเธอเป็นขุนนางและเป็นผู้แต่งกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง หลังแต่งงานและมีลูกได้สามปี สามีก็มาเสียชีวิต ว่ากันว่าสาเหตุนี้ทำให้เธอเริ่มเขียนผลงานชิ้นเอกหรือ “ตำนานเก็นจิ” ขึ้น ต่อมาเธอได้เข้าไปเป็นนางสนองพระโอษฐของพระมเหสีจนผลงานเสร็จสิ้น และมีโอกาสผลิตผลงานอื่นๆออกมา มุราซากิชิคิบุไม่ใช่ชื่อจริงของเธอ ว่ากันว่าคำว่า “มุราซากิ” มาจากตัวละครที่อยู่ในตำนานเก็นจิ ส่วนคำว่า “ชิคิบุ” เป็นชื่อตำแหน่งของบิดาที่ทำงานในกระทรวงราชพิธี (Shikibu no Jyou / 式部丞) ทุกวันนี้ชื่อจริงเธอยังคงเป็นปริศนา เพราะว่าในสมัยนั้นไม่นิยมบันทึกข้อมูลของสตรี เช่น ชื่อ วันเดือนปีก่อน แม้จะว่าจะเกิดมาในตระกูลชนชั้นสูงก็ตาม

พิพิธภัณฑ์มุราซากิชิคิบุ


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้บริการเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ตั้งอยู่ในเมืองเอจิเซ็น จังหวัดฟุคุอิ ที่นี่มีความเกี่ยวข้องกับมุราซากิชิคุบุ เนื่องจากบิดาของเธอได้รับคำสั่งให้มาประจำราชการอยู่ในเมืองนี้ ทำให้เธอต้องย้ายจากเมืองหลวงหรือเกียวโต มาอยู่อาศัยในเมืองเอจิเซ็นระยะหนึ่ง ภายในพิพิธภัณฑ์จะจัดแสดงนิทรรศการบอกเล่าชีวิตของมุราซากิชิกิบุในเมืองเอจิเซ็น รวมถึงงานฝีมือแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปที่สามารเรียนรู้ และทดลองทำงานฝีมือแบบดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่มุราซากิชิกิบุมีชีวิตอยู่อีกด้วย เราเลือกไฮไลต์เด็ดของพิพิธภัณฑ์นี้มา 6 อย่าง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย!

1. สวนด้านหน้าพิพิธภัณฑ์

 
 
 
 
 
この投稿をInstagramで見る
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

紫ゆかりの館(@info_murasaki)がシェアした投稿


เริ่มจากสวนตรงทางเข้าที่ทำหน้าต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมทุกคน ต้นไม้ที่ปลูกไว้ตรงกลางสวนคือ ต้นซากุระพันธุ์ชิดาเระ (Weeping Cherry) ซึ่งเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นเอง ในภาษาดอกไม้จะหมายถึง “ความสง่างาม” เป็นความหมายที่ชวนให้นึกถึงชนชั้นสูงในสมัยเฮอันที่สัมผัสถึงความสวยงามของฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง และกลั่นกรองอารมณ์ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่มีต่อความงามของธรรมชาติออกมาผ่านบทกลอน

2. ตุ๊กตากระดาษญี่ปุ่นรูปมุราซากิชิกิบุ


โซนนี้จะจัดแสดงตุ๊กตาที่สวมชุดกิโมโน 12 ชั้น ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายสมัยเฮอันของหญิงชนชั้นสูงหรือหญิงในราชสำนัก ได้รับการรังสรรค์ขึ้นด้วยกระดาษเอจิเซ็นวาชิ (Echizen Washi) ซึ่งเป็นงานฝีมือแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่วนสีของเครื่องแต่งกายก็เลือกใช้เป็นสีม่วง ซึ่งมาจากชื่อของมุราซากิชิกิบุ โดยคำว่า “มุราซากิ” แปลว่าสีม่วงนั้นเอง ตุ๊กตามุราซากิชิกิบุจะนั่งอยู่หลังม่านบางๆ จำลองธรรมเนียมปฏิบัติการพบกันของชายหญิงในสมัยเฮอัน

3. ห้องมุราซากิชิกิบุ โนะ มะ


โซนนี้จะจัดแสดงชีวิตชนชั้นสูงของมุราซากิชิกิบุ ระหว่างที่อาศัยอยู่ในเมืองเอจิเซ็น เราจะได้เห็นและสัมผัสชีวิตช่วงหนึ่งของมุราซากิชิกิบุผ่านกราฟิกที่ออกแบบมาในสไตล์เอมากิโมโนะ (Emakinomo) หรือม้วนภาพกระดาษถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวแทนของศิลปะสมัยเฮอัน

4. ขบวนตุ๊กตากระดาษญี่ปุ่น


โซนนี้จะจำลองการเดินทางของมุราซากิชิกิบุและบิดา จากเมืองเกียวโตซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้นมายังเมืองเอจิเซ็น ในขบวนการเดินทางประกอบตุ๊กตาคนเกือบ 50 ตัว ม้าและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งแต่ละชิ้นได้รับสร้างสรรค์ขึ้นอย่างปราณีตด้วยกระดาษเอจิเซ็นวาชิ

5. วิดีโอเรื่องราวของมุราซากิชิกิบุและเมืองเอจิเซ็น

โซนนี้จะบอกเล่าชีวิตของมุราซากิชิกิบุตั้งแต่ตอนที่มาถึงเมืองเอจิเซ็นจนถึงเริ่มเขียนผลงานชื่อดัง “ตำนานเก็นจิ” ผ่านอนิเมชั่นสไตล์ม้วนกระดาษเอมากิโมโนะ
ในอนิเมชั่นมีซีนความรักทางไกลของมุราซากิชิบุกับคู่หมั้นหนุ่ม (ในตอนนั้น) ที่อยู่ที่เกียวโตอีกด้วย วิดิโอจะถ่ายทั้งที่ผนังและที่พื้น สามารถรับชมได้อย่างเต็มตาไม่น่าเบื่อ มีความยาวประมาณ 6 นาทีค่ะ

6. ห้องชิรูเบะ โนะ มะ


โซนสุดท้ายจะจัดแสดงงานฝีมือท้องถิ่นของเมืองเอจิเซ็น เป็นผลงานได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเทคนิคดั้งเดิมที่สืบทอดมาจากสมัยที่มุราซากิชิกิบุมีชีวิตอยู่ นอกจากยังจำหน่ายสินค้างานฝีมือ เช่น กาแฟ และสินค้าที่มีลวดลายที่ได้แรงบันดาลมาจากมุราซากิชิกิบุ และตำนวนเก็นจิอีกด้วย จะซื้อติดมาเป็นของฝากหรือของที่ระลึกก็เก๋ไม่ซํ้าใครนะคะ

ข้อมูลพิพิธภัณฑ์มุราซากิชิคิบุ

ที่อยู่21-12 Higashisenpukucho, Echizen, Fukui 915-0847, Japan
เวลาให้บริการอังคาร – อาทิตย์ 9 :00 – 17:00
*หยุดทุกวันจันทร์
ค่าเข้าฟรี (อัพเดต 23 กันยายน 2023)
การเดินทางนั่ง City bus “Norossa” จากสถานี JR Takefu จากนั้นมาลงที่ป้าย ㉑ “Murasaki Shikibu Koen” ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

ถ้าไปถามคนญี่ปุ่นว่ารู้จักมุราซากิชิกิบุหรือตำนานเก็นจิหรือไม่ เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องตอบว่ารู้จัก เพราะตำนานเก็นจิได้รับการดัดแปลงให้เป็นอนิเมะ มังงะ ภาพยนตร์ ละคร หลากหลายเวอร์ชั้น จนกล่าวได้ว่ามุราซากิชิกิบุเป็นอีกคนที่สร้างคุณูปการให้กับวงการวรรณการญี่ปุ่น แม้ว่านามจริงของเธอจะไม่ได้ถูกบันทึกไว้เลยก็ตาม

สรุปเนื้อหาจาก : fuku-e.com , murasakiyukari.com

beniko59

อดีตสาวโตเกียว ชอบดื่มกาแฟ ชอบท่องเที่ยว ชอบกินขนม และชอบยามะพี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า