“หน้ากากอนามัย” ถือว่าเป็น 1 ในสื่งของที่เรียกว่าไม่สามารถขาดได้เลยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ทว่าในญี่ปุ่น ผู้คนนิยมสวมหน้ากากอนามัยกันเป็นประจำก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดเสียอีก เช่น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิสวมหน้ากากเพื่อป้องกันละอองเกสรดอกไม้ ช่วงฤดูหนาวสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่ระบาดของเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ว่าแต่แล้วหน้ากากอนามัยนั้นเริ่มหันมาใส่กันตั้งแต่เมื่อไร? วันนี้เราจะมาย้อนดูถึงประวัติของหน้ากากอนามัยกันค่ะ

ที่มาของความนิยมใช้หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัยในญี่ปุ่น

เมื่อย้อนกลับไปดูแล้วก็จะพบว่าญี่ปุ่นเริ่มใช้หน้ากากคลุมปิดจมูกและปากกันมาตั้งแต่ช่วงสมัยยุคเมจิตอนต้น โดยในอดีตรูปแบบของหน้ากากคือ จะใช้แผ่นทองเหลืองมาทำเป็นตาข่ายหรือเจาะรูแล้วนำมาใส่เป็นแผ่นกั้นไว้ตรงกลางด้านในแล้วห่อปิดด้วยผ้าฟิลเตอร์ทั้งสองด้าน ซึ่งจุดประสงค์ก็คือไว้ใช้ช่วยปัองกันฝุ่นละอองในโรงงานต่างๆ แต่พอเข้าสู่สมัยไทโช หน้ากากอนามัยได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไปด้วยเนื่องจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดสเปนเมื่อปี ค.ศ. 1918 (ปีไทโชที่ 7) โดยเป็นการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1918 – 1920 ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความตื่นกลัวไปทั่วโลก โดยประชากรถึง 1 ใน 4 ของโลกถือว่าเคยติดเชื้อโรคไข้หวัดสเปนนี้ ในส่วนของญี่ปุ่นก็ได้มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้หน้ากากอนามัยจากโรงงานกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจและเชื่อกันว่าสามารถที่จะทำการป้องกันการติดต่อของโรคไข้หวัดสเปนดังกล่าวได้

เวลาเปลี่ยน รูปแบบของหน้ากากอนามัยก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

จากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดสเปน ได้ทำให้หน้ากากอนามัยที่ใช้ในโรงงานได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น แต่ทว่าถ้ากล่าวถึงเรื่องคุณภาพของหน้ากากอนามัยแล้วก็ถือว่าหน้ากากที่ใช้ในโรงงานนั้นยังไม่ได้คุณภาพดีเท่าที่ควร ต่อมาในปี ค.ศ.1923 (ปีไทโชที่ 12) ทางร้าน Uchiyama Takeshi Shoten ได้ผลิตหน้ากากในชื่อ “หน้ากากโคโตบุกิ”และจดทะเบียนเครื่องหมายทางการค้าเป็นครั้งแรก 

ต่อมาหน้ากากอนามัยก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากการใช้แผ่นทองเหลืองซึ่งเมื่อใช้ไปเป็นเวลานานจะเกิดการขึ้นสนิม มาเป็นการใช้เซลลูลอยด์ (Celluloid) แทน และยังมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผ้าฟิลเตอร์อีกด้วย โดยหันมาใช้ผ้าหนังแทน 

ในปี ค.ศ.1948 (ปีโชวะที่ 23) หน้ากากอนามัยก็ได้ถูกเปลี่ยนรูปแบบอีกครั้ง มาเป็นรูปทรงแบน โดยใช้ผ้าก๊อซเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เรื่อยมาจนปีกระทั่ง ค.ศ.2003 (ปีเฮเซย์ที่ 15) หน้ากากอนามัยก็ได้เปลี่ยนมาเป็นรูปแบบทรงกลีบ (รูปทรงที่ขึ้นรูปรับไปกับใบหน้า) ในส่วนของเนื้อผ้าก็เปลี่ยนมาใช้ผ้าที่ไม่ได้ผ่านการทอ (Nonwoven Fabric) แทนผ้าก๊อซ

เมื่อดูจากอดีตจะเห็นได้ว่าหน้ากากอนามัยได้อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน และหน้ากากอนามัยยังได้มีการถูกปรับเปลี่ยนในเรื่องของทั้งรูปแบบและคุณภาพให้ดีขึ้นไปตามยุคสมัย แต่อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ของหน้ากากอนามัยก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป ยังคงมีไว้เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำร้ายร่างกายของเรา แม้ว่าสถานการณ์โควิดในหลายประเทศจะดูดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงต้องอยู่กับโรคต่างๆ ต่อไป ยังไงก็หวังว่าทุกคนจะรักษาสุขภาพกันนะคะ

เรียบเรียงโดย XROSSX
ที่มา mag.japaaan jhpia.or.jp

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า