Aihack Thailand 2023-Feature

บริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่น และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) ได้จัดงาน Aihack Thailand 2023 ตั้งแต่ 13-15 ธ.ค. 2023 เป็นเวลา 3 วัน ณ อาคารอนุสรณ์ 50 ปี คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี โดยมีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นๆ เข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 120 คน รวม 26 ทีม

งาน Aihack Thailand 2023 นี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่บริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่นได้จัดร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือเป็นครั้งที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดเท่าที่จัดมา โดยผู้เข้าแข่งขันนั้นประกอบด้วยนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สถิติ และอีกมากมาย

จุดประสงค์ของการแข่งขันนั้นเป็นไปเพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจด้านการเงินญี่ปุ่นผ่านโจทย์ว่าด้วยการคาดการณ์ลูกค้าที่มีโอกาสชำระหนี้ล่าช้า (Long Overdue Debtor) รวมถึงเป็นพื้นที่ให้นิสิตนักศึกษาได้ดึงองค์ความรู้ด้าน Machine Learning และไอเดียด้านธุรกิจมาประยุกต์ใช้เพื่อชิงเงินรางวัลต่างๆ ที่รวมมูลค่ากว่า 160,000 บาท

วันที่ 1 เริ่มต้น Aihack Thailand 2023

Aihack Thailand 2023-1
ศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาดให้เกียรติกล่าวเปิดงาน Aihack Thailand 2023

ในวันที่ 13 ธ.ค. 2023 อันเป็นวันแรกของงาน ทางผู้จัดงานและผู้เข้าแข่งขันได้รับเกียรติจากศ.ดร. วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด ตามด้วยมร.ยูจิ ฟุคาดะ CEO บริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

Aihack Thailand 2023-2
มร.ยูจิ ฟุคาดะ CEO บริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) ร่วมกล่าวเปิดงาน

จากนั้นจึงเป็นการแนะนำบริษัทและลักษณะทางธุรกิจจากมร.ไดสุเกะ โอโนะตัวแทนบริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่น และคุณชนิดา บุญไทยตัวแทนบริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าใจโจทย์การแข่งขัน โดยโจทย์การแข่งขันนั้นได้ผศ. ดร.กวิน อัศวานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาพาณิชยศาสตร์และพิธีกรงานในครั้งนี้เป็นผู้อธิบาย

ผศ. ดร.กวิน อัศวานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาพาณิชยศาสตร์และพิธีกร

จากนั้นจึงเป็นการเริ่ม Hackathon อย่างเป็นทางการ โดยผู้เข้าแข่งขันได้แยกย้ายเข้าประจำที่กับกลุ่มของตัวเองและเริ่มตามหาโมเดลและวิธีการที่จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

Aihack Thailand 2023-4

วันที่ 2 การคัดผู้เข้าแข่งขันสู่ Grand Tournament

Aihack Thailand 2023-5

วันที่ 14 ธ.ค. 2023 เข้าสู่การเริ่มคัดเลือกทีมผู้เข้าแข่งขันเข้าแข่งขันใน Grand Tournament เพื่อชิงรางวัลใหญ่ โดย 16 ทีมที่ได้อันดับสูงสุดใน AUC Ranking จะได้เข้าไปประชันไอเดียกันใน Closed Presentation

Aihack Thailand 2023-6

Aihack Thailand 2023-9

Aihack Thailand 2023-10

กรรมการทั้ง 3 ผู้ให้คะแนนใน Closed Presentation ได้แก่รศ. ดร.ประเสริฐ คณาวัฒนไชย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มร. ชินอิจิโร่ โอคุยามะ และ มร. มาซาชิ ไคเด็น จากบริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่น

โดยใน 16 ทีมที่ได้นำเสนอต่อกรรมการนั้น 8 ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้เข้าร่วมในช่วง Final Presentation ซึ่งเป็นการนำเสนอไอเดียและโครงสร้างโมเดลของตน พร้อมมุมมองในด้านธุรกิจ เพื่อแข่งขันชิงชนะเลิศในวันที่ 3

วันที่ 3 รอบชิงชนะเลิศ Aihack Thailand 2023

Aihack Thailand 2023-11
ช่วง Final Presentation เพื่อชิงชนะเลิศ ณ CBS Lounge อาคารอนุสรณ์ 50 ปี

และแล้วในวันที่ 15 ธ.ค. 2023 ก็ถึงโค้งสุดท้ายของการชิงรางวัล โดยผู้เข้าแข่งขันใช้เวลาช่วงเช้าในการปั้นคะแนน AUC ที่ดีที่สุดในเวลาที่กำหนด เพื่อลุ้นชิงรางวัล AUC Tournament Prize ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับทีมที่ทำคะแนน AUC ได้ดีที่สุด ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลที่ทุกทีมสามารถเข้าชิงได้

Aihack Thailand 2023-12
(จากซ้าย) มร. มาซาชิ ไคเด็น, มร. ชินอิจิโร่ โอคุยามะ, รศ. ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล, รศ. ดร.ประเสริฐ คณาวัฒนไชย

จากนั้นในช่วงบ่ายก็เป็นการนำเสนอผลงานโมเดลและมุมมองทางธุรกิจของ 8 ทีมสุดท้ายเพื่อชิงรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ตามลำดับ โดยกรรมการทั้ง 4 ท่านในรอบชิงชนะเลิศนั้นได้แก่

1.รศ. ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล หัวหน้าภาควิชาพาณิชยศาสตร์

2.รศ. ดร.ประเสริฐ คณาวัฒนไชย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย / อาจารย์ประจำภาควิชาพาณิชยศาสตร์

3.มร. ชินอิจิโร่ โอคุยามะ Managing Executive Officer บริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่น

4.มร. มาซาชิ ไคเด็น ผู้อำนวยการ แผนก Data Analytics บริษัทไอฟุล คอร์ปอเรชั่น

หลังช่วงการนำเสนอผ่านไป ก็ถึงเวลาประกาศผลผู้ชนะทั้ง 4 รางวัล ซึ่งได้แก่

รางวัลชนะเลิศ และ AUC Tournament Prize ทีม AI Crack Crack

จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Aihack Thailand 2023-14 AI Crack Crack

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ChatGPS

จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม welovepaopao

จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ (International School of Engineering) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Aihack Thailand 2023-16 welovepaopao

หลังการประกาศผล งาน Aihack Thailand 2023 ก็มาถึงช่วงสุดท้าย โดยมีมร.ชินอิจิโร่ โอคุยามะกล่าวปิดงานและขอบคุณทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนิสิตนักศึกษาผู้เข้าแข่งขัน และชุมนุม Commerce Club ที่ช่วยทำให้การแข่งขันในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี

เกี่ยวกับบริษัท ไอฟุล คอร์ปอเรชั่น

บริษัท ไอฟุล คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำของญี่ปุ่น โดยมีสำนักงานใหญ่ในจังหวัดเกียวโต และมี 23 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันดำเนินกิจการโดยมุ่งเติบโตในฐานะ “IT-based financial group” ที่นำความรู้ด้าน IT มาประยุกต์ใช้พัฒนาบริการสินเชื่อและการเงินต่างๆ ของบริษัทให้มีประสิทธิภาพและสนับสนุนลูกค้าผู้ใช้บริการได้ต่อไป

บริษัท ไอฟุล คอร์ปอเรชั่น
ที่อยู่ (สำนักงานใหญ่)381-1 Takasago-cho, Gojo-Agaru, Karasuma-Dori, Shimogyo-ku, Kyoto 600-8420, Japan.
เว็บไซต์ir-aiful.com

เกี่ยวกับบริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)

บริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน) เกิดจากการร่วมทุระหว่างบริษัทไอร่า แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอฟุล คอร์ปอเรชั่น และเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านสินเชื่อส่วนบุคคล เช่นบัตรกดเงินสด A-Money

บริษัทไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
ที่อยู่เลขที่ 90 อาคารซีดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ ชั้น 33,34 ห้องเลขที่ บี 3301-2, บี 3401-2
ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
เว็บไซต์aira-aiful.co.th
ทีมงานบริษัทโคโนมิ พลัส จำกัด และ Commerce Club ผู้ทำหน้าที่สต๊าฟในงาน Aihack Thailand 2023

เกี่ยวกับบริษัทโคโนมิ พลัส จำกัด

บริษัทโคโนมิ พลัส จำกัดเป็นบริษัทผู้ประสานงานและให้บริการเอื้ออำนวยความสะดวกดำเนินกิจการของหน่วยงานรัฐ/บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยเป็นผู้จัดงาน Aihack Thailand 2022 และ Aihack Thailand 2023 อีกทั้งเป็นบริษัทผู้ดูแลเว็บไซต์ conomi.co เว็บไซต์แนะนำข่าวสารเกี่ยวกับญี่ปุ่นให้แก่ผู้อ่านคนไทย

บริษัทโคโนมิ พลัส จำกัด
ที่อยู่120/145 ซ.วชิรธรรมสาธิต 12 แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
เว็บไซต์conomi.co

เกี่ยวกับ Commerce Club

Commerce Club หรือ ชุมนุมภาคพาณิชยศาสตร์ เป็นชุมนุมที่จัดตั้งขึ้นโดยนิสิตภาคพาณิชยศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการพัฒนาทักษะ ความสัมพันธ์ ให้กับนิสิตภาคพาณิชยศาสตร์และนิสิตที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ตอบโจทย์ต่อการทำงานในโลกยุคใหม่ เพื่อเปิดโอกาสในการพัฒนาอย่างรอบด้าน ชุมนุมภาคพาณิชยศาสตร์จึงสร้างรูปแบบการดำเนินงาน ซึ่งเปิดโอกาสให้นิสิตได้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ติดตาม Commerce Club
TikTokcu.commmerce.club
YouTubeChulalongkorn Commerce Club

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า