5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

ผี 幽霊 (ゆうれい) วิญญาณคนตายที่ไม่สามารถไปสู่สุขติได้ เนื่องจากมีความอาลัยอาวรณ์ หรือความแค้นที่ยังไม่ได้ชำระ ถ้าพูดถึงเรื่องผี ๆ ชาวยุโรปน่าจะต้องนึกถึงวัน Halloween แล้วชาวญี่ปุ่นล่ะ…นึกถึงอะไร? ถ้าไปถามคนญี่ปุ่น ก็คงจะได้คำตอบว่า “หน้าร้อน” แทน “ฮาโลวีน” ค่ะ เพราะที่ญี่ปุ่นนั้นมีเทศกาล “โอบ้ง” (お盆) ซึ่งจัดในช่วงหน้าร้อน และว่ากันว่าเป็นวันที่เหล่าบรรพบุรุษ (รวมถึงผี วิญญาณ) จากโลกโน้น จะกลับมายังโลกมนุษย์นั่นเอง และด้วยเหตุนี้เอง จึงมักมีการ จับเข่าเล่าเรื่องสยองขวัญกันในหน้าร้อน ค่ะ

วัฒนธรรมการเล่าเรื่องผีในญี่ปุ่น

การเล่าเรื่องสยองขวัญหรือเรื่องผี ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า Kaidan Banashi 怪談話(かいだんばなし) มีทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่กล่าวไว้ว่าละครคาบูกิที่แสดงในหน้าร้อนมักเป็นละครที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับผี จึงทำให้คนสมัยก่อนมีภาพจำเช่นนั้น และมักชักชวนกันเล่าเรื่องผีในหน้าร้อนด้วยค่ะ

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

ส่วนวันฮาโลวีนนั้น ชาวญี่ปุ่นผู้รักในการสังสรรค์และรักในการจัดเทศกาลต่างๆ เป็นที่สุดก็ยังขอร่วมด้วย แต่จะเป็นไปเพื่อความสนุกสนาน เฮฮา ปาร์ตี้ และส่งเสริมการขายของร้านค้า สินค้าต่าง ๆ เสียมากกว่า

นอกจากวันฮาโลวีนแล้ว จะว่าไปเรื่องผี ๆ ของญี่ปุ่นก็มีเอกลักษณ์ที่ต่างจากผีชาติอื่น ๆ อยู่ด้วยเหมือนกัน เรามาดู 5 ข้อชวนคิดเกี่ยวกับผีที่ญี่ปุ่นที่น่าสนใจกันเลยค่ะ

1. ทำไมผีต้องไม่มีขา?

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

เพื่อน ๆ เคยสังเกต หรือสงสัยไหมคะว่าทำไมผีถึงจะต้องไม่มีขา?

นั่นน่ะสิ… ที่จริงคำตอบอาจง่ายกว่าที่เราคิด ว่ากันตามตรง เรื่องผีๆ นั้นเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ใครเจอจริง-ไม่จริง ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ 100% และเมื่อลองมองย้อนไปในประวัติศาสตร์และวรรณกรรมดูแล้ว เหตุผลง่ายๆ อาจจะเป็นเพราะว่าวรรณกรรม / ละคร หรือ “สื่อ” ในสมัยแรก ๆ ที่เริ่มมีการพูดถึงเรื่องผี ได้สร้างภาพจำแบบนั้นออกมาทำให้คนเชื่อว่า “ผีต้องไม่มีขา” ก็เป็นได้

2. แพทเทิร์นของผีญี่ปุ่นที่แตกต่างจากผียุโรป

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

พูดถึงผียุโรป เรามักจะนึกภาพของผีที่มักมาในรูปแบบของวิญญาณที่มองไม่เห็น บ้านผีสิงที่สิ่งของขยับได้เอง หรือวิญญาณสีขาวลอยไปลอยมา ผีหัวขาดหรือซอมบี้

ส่วนผีญี่ปุ่นจะมาในอีกรูปแบบ คือมักจะเป็น “ผีสาว” ที่มีใบหน้าขาวซีดและมักจะมีผมยาว พ่วงมาด้วยไม่ใช่ผมสวยแบบโฆษณายาสระผม แต่มักมีผมกระเซิง ยุ่ง ๆ พร้อมปรากฏตัวในชุดขาว ซึ่งหลัก ๆ แล้วน่าจะได้รับอิทพลที่แตกต่างกันมาผ่านสื่อหรือวรรณกรรมนั่นเอง

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

3. มักปรากฏตัวใต้ต้นหลิว?

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

ถ้าพูดถึงเรื่องผีและถามถึงต้นไม้ เชื่อว่าชาวญี่ปุ่นหลายคนจะตอบว่าต้นที่นึกถึงเป็นอันดับแรกคือ “ต้นหลิว” (柳)

อ้าว? แล้วเป็นต้นซากุระไม่ได้เหรอคะคุณพี่? ก็นั่นน่ะสิคะคุณน้อง แต่เรื่องนี้น่ะมีเหตุผลอยู่ว่า ชาวญี่ปุ่น (รวมถึงชาวจีนจำนวนไม่น้อย) เชื่อว่าต้นหลิวเป็นต้นไม้อันเป็นที่สถิตของวิญญาณมาตั้งแต่สมัยก่อน หากเทียบกับไทยก็คงคล้ายกับที่คนไทยมีอิมเมจว่าผีต้องคู่กับต้นตะเคียนอย่างไรก็อย่างนั้น

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?

เนื่องจากต้นหลิวมีใบที่พลิ้วไหวตามลมได้ง่าย เวลากลางคืนหากมองไม่ดีก็อาจเห็นภาพหลอนเป็นผู้หญิงผมยาว หรือหากไปยืนใต้ต้นหลิวแล้วลมพัดใบไม้ปลิวมาโดนหัวเบา ๆ ก็อาจทำให้หลอนคิดไปว่ามีใครมาลูบหัว ยืนถือร่มใต้ต้นหลิว โดนลมพัดร่มปลิวไปติดกับต้นไม้ก็ทึกทักไปว่าผีแกล้งเอาร่มไปด้วย เป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ยังมีเหตุผลด้านวรรณกรรมเข้ามาเสริม ทำให้ภาพจำของ “ต้นหลิวกับวิญญาณ” ยิ่งถูกตอกย้ำและฝังอยู่ในใจของชาวญี่ปุ่นนั่นเองค่ะ

4. เสียงที่คนญี่ปุ่นได้ยินแล้วต้องนึกถึงเรื่องผีเป็นอันดับแรก

ひゅう~どろどろ~~~・・・ (Hyu~ dorodoro~~~)

คือเสียงขลุ่ยและกลองซึ่งหากได้ยินในระหว่างการดูละครคาบูกิ จะทำให้ผู้ชมทราบทันทีเลยว่าฉากต่อจากนี้จะมีผีโผล่มาแน่ หรือแม้ไม่โผล่มาจริง แต่เมื่อได้ยินเสียงนี้แล้วก็จะนึกถึงฉากที่มีผี-วิญญาณโผล่มาก่อนค่ะ และแน่นอนว่าในยุคที่ญี่ปุ่นมีสื่อบันเทิงมากมายนั้น นอกจากคาบูกิแล้ว ก็ยังถูกนำไปใช้ในสื่อบันเทิงอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

5. ภูติกับผีเป็นพวกเดียวกันไหม

5 ข้อชวนคิดเรื่องผีที่ญี่ปุ่น ทำไมพูดถึงผีญี่ปุ่นแล้วต้อง…?
ภูติ / ปีศาจ 妖怪 (ようかい/Youkai)
ผี 幽霊 (ゆうれい/Yurei)

สำหรับข้อสุดท้าย อยากชวนให้เพื่อน ๆ ได้มาลองคิดกันเล่น ๆ ดูว่าภูติก็ไม่ใช่คน ผีก็ไม่ใช่คน แล้วทั้งภูติกับผี ที่ไม่ใช่คน เป็นพวกเดียวกันไหม???

ซึ่งในแวดวงนักวิชาการญี่ปุ่นที่ศึกษาเรื่องนี้ ก็ยังไม่มีข้อสรุปแบบ “ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว” ออกมา เพราะมีทั้งกลุ่มที่เชื่อว่าภูติและผีเป็นสิ่งเดียวกัน กับกลุ่มที่แยกภูติและผีออกจากกันอยู่

  1. ฝ่ายที่เชื่อว่าภูติและผีเป็นพวกเดียวกัน: มองว่าทั้งภูติและผีไม่ใช่มนุษย์ และอาศัยอยู่อีกโลกหนึ่งที่ซ้อนทับกันอยู่เหมือนกัน โดย “ภูติ” เป็นดวงวิญญาณที่เกิดขึ้นเฉยๆ ไม่ได้เคยเป็นมนุษย์มาก่อน ส่วน “ผี” ก็คือดวงวิญญาณอีกอย่างหนึ่ง เพียงแค่ยังคงรูปลักษณ์ของตัวเองในชาติก่อน (มนุษย์) เอาไว้
  2. ฝ่ายที่เชื่อว่าภูติและผีเป็นคนละประเภทกัน: มองว่า “ภูติ” เป็นแนวคิดจากสมัยโจมง (縄文時代) ส่วน “ผี” เป็นแนวคิดที่มาจากความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ ซึ่งส่งต่อมาจากสมัยยาโยอิ (弥生時代)

แล้วเพื่อน ๆ คิดว่าภูติกับผีเป็นสิ่งเดียวกันไหม? ลองเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้นะ!

สรุปเนื้อหาจาก intojapanwaraku, kokugakuin
เขียนโดย: NONBRI

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า