ฮอร์โมนแห่งความสุข

ฮอร์โมนสามชนิด ได้แก่ ฮอร์โมนซีโรโทนิน (Serotonin), โดพามีน (Dopamine), และออกซีโทซิน (Oxytocin) เป็นสารสื่อประสาทที่ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนหลักที่ทำให้คนเรามีความสุข มารู้บทบาทสำคัญของแต่ละฮอร์โมน และวิธีการเพิ่มฮอร์โมนดังกล่าวเพื่อทำให้คนเรามีความสุขตามคำแนะนำของจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่นกันค่ะ

รู้จัก 3 ฮอร์โมนแห่งความสุขและบทบาทสำคัญของฮอร์โมนแต่ละชนิด

ความสุข

1. ซีโรโทนิน

ฮอร์โมนซีโรโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คนเรามีความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ การสะกดอารมณ์หงุดหงิด และช่วยให้จิตใจสงบ ฮอร์โมนชนิดนี้ถูกสร้างอย่างต่อเนื่องในร่างกาย หากร่างกายสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาน้อยจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานไม่สมดุลกันซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย เช่น ทำให้เครียดง่ายและนอนไม่หลับ เป็นต้น

2. โดพามีน

โดพามีน เป็นสารสื่อประสาทที่หลั่งออกมามากเมื่อคนเรารู้สึกสนุกและมีความสุข หรือเมื่อเผชิญกับสภาวะที่ท้าทาย เช่น การทำงาน การเรียนหนังสือ และการเล่นกีฬา เป็นต้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สมาธิ และประสิทธิภาพในการทำงาน เมื่อบุคคลบรรลุความสำเร็จในบางสิ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะหลั่งออกมามากขึ้นจนทำให้รู้สึกภูมิใจและมีความสุขและมีแรงบันดาลใจมากขึ้น แต่หากฮอร์โมนชนิดนี้หลั่งออกมามากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน แต่ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนซีโรโทนินมาช่วยยังยั้งการสร้างโดพามีนที่มากเกินไป

3. ออกซีโทซิน

ออกซีโทนิน เป็นที่รู้จักกันในชื่อฮอร์โมนแห่งความรักและฮอร์โมนแห่งความไว้ใจ ซึ่งจะหลั่งออกมามากเมื่อคนเรามีความสุข ฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยบรรเทาความเครียดและความกังวลได้ หากฮอร์โมนชนิดนี้หลั่งออกมาอย่างเหมาะสมจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติส่วนพาราซิมพาเทติกทำงานเด่นซึ่งส่งผลในการลดความเครียด

วิธีเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข

1. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มซีโรโทนิน

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบบริหารร่างกาย เดิน และปั่นจักรยาน เป็นต้น และกิจกรรมนอกอาคารใต้แสงแดดจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนซีโรโทนินออกมามากขึ้น

2. รับประทานอาหารที่ช่วยเสริมการสร้างซีโรโทนิน

อาหาร

กรดอะมิโนทริปโตเฟน เป็นสารตั้งต้นในการสร้างซีโรโทนินของร่างกาย อาหารที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนชนิดนี้ที่ควรรับประทานเป็นประจำได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อแดง ปลาเนื้อแดง ได้แก่ ปลาโอหรือปลาทูน่า นมและผลิตภัณฑ์จากนม กล้วย และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

3. กระตุ้นโดพามีนด้วยกิจกรรมช่วงเช้า

ออกกำลังกาย

โดพามีน เป็นฮอร์โมนที่สร้างได้มากใน ช่วงเช้า โดยการเริ่มทำบางสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างโดพามีนในตอนเช้า ได้แก่ การไปทำงานโดยใช้เส้นทางที่แตกต่างจากทุกวัน การออกไปนอกบ้าน หรือการเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ เป็นต้น

4. การเลี้ยงลูกช่วยเพิ่มฮอร์โมนออกซีโทซิน?

เลี้ยงลูก

ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกสร้างมากขึ้นเมื่อ เลี้ยงลูกจากการสัมผัส กอดและหอมแก้มลูก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อ การเลี้ยงลูกจะช่วยเพิ่มฮอร์โมนนี้ได้มากเป็นพิเศษ) การเลี้ยงสัตว์ การดูวิดีโอเกี่ยวกับสัตว์โลกน่ารัก การสูดดมกลิ่นหอมของสมุนไพร การดื่มชา และการทำบุญทำทานและช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น

การใช้ชีวิตประจำวันในแบบที่สมดุลจากการทำงานในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าสารอาหารครบถ้วน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม และไปเที่ยวพักผ่อนตามโอกาส ก็สามารถสร้างความสุขที่ง่ายได้ หากรู้สึกว่าตัวเราเองไม่มีความสุขก็ให้ค่อย ๆ มองหาสาเหตุแล้วแก้ไขปัญหาไป รวมถึงลองหันมาใส่ใจสร้างฮอร์โมนทั้งสามชนิดให้สมดุลกันค่ะ!

สรุปเนื้อหาจาก: youyoutime.jp

ซากุระ เมืองร้อน

แม่บ้านญี่ปุ่นลูกสองผู้รักการทำอาหาร หลงใหลในความงดงามของดอกไม้และธรรมชาติ และชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อให้แข็งแรงและสวยไปนานๆ ขอฝากเนื้อฝากตัวเพื่อแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ในมุมมองที่หลากหลายให้กับเพื่อนผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า