ความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่า “นักฆ่าเงียบผู้โหดเหี้ยม” เนื่องจากมักไม่แสดงอาการและหากไม่ใส่ใจดูแลในระยะยาวก็ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตหรือพิการ ซึ่งได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจหนา เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และไตวาย เป็นต้น มารู้จักอาหารที่ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นแนะนำให้รับประทานเป็นประจำเพื่อลดความดันโลหิตสูงกันค่ะ
10 อาหารที่มีผลในการช่วยลดความดันโลหิตสูง
1. กล้วย
กล้วยอุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมซึ่งช่วยในการขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายและช่วยในการลดความดันโลหิตและมีผลเชิงบวกต่อหัวใจและไต
2. ปลาแซลมอน
ปลาแซลมอนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งช่วยเสริมให้การไหลเวียนเลือดดีและช่วยคงความเสถียรของความดันโลหิต
3. ขมิ้น
สารเคอร์คูมิน (Curcumin) ที่มีมากในขมิ้นช่วยเสริมให้การไหลเวียนเลือดดีและช่วยคงความเสถียรของความดันโลหิต
4. อัลมอนด์
อัลมอนด์มีปริมาณแมกนีเซียมสูง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขยายหลอดเลือด
5. มะเขือเทศ
แม้มะเขือเทศจะเป็นผักที่หลายคนชอบเขี่ยออก แต่รู้ไหมคะว่าจริงๆ มะเขือเทศนั้นอุดมไปด้วยไลโคปีน ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้! (ใครอ่านแล้วแล้วอยากหาเมนูมะเขือเทศมาทาน จิ้มเข้าไปอ่านสูตรสปาเกตตีน้ำมะเขือเทศได้ที่ บทความนี้ เลยจ้า)
6. ผักปวยเล้ง
โพแทสเซียม แมกนีเซียม และกรดโฟลิกที่มีมากในผักปวยเล้งช่วยควบคุมความดันโลหิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียมจะช่วยขจัดเกลือส่วนเกินออกจากร่างกายและทำให้เกิดความเสถียรของความดันโลหิต
7. ถั่วดำ
เส้นใยอาหารและโพแทสเซียมที่มีมากในถั่วดำจะช่วยลดความดันโลหิตและช่วยให้สุขภาพของหัวใจดี
8. พุทรา
พุทธาอุดมไปด้วยโพแทสเซียมและแร่ธาตุต่าง ๆ จึงช่วยให้การไหลเวียนเลือดดีและช่วยควบคุมความดันโลหิต
9. บีทรูท
บีทรูทอุดมไปด้วยกรดไนตริก (Nitric acid) ซึ่งมีผลในการเพิ่มไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide) ในหลอดเลือด ซึ่งช่วยขยายหลอดเลือดและลดความดันโลหิต
10. ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง
ไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ที่มีมากในถั่วเหลืองเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยลดความดันโลหิตและช่วยให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดี
หากไปตรวจสุขภาพแล้วพบว่ามีความดันโลหิตสูงก็ไม่ต้องตกใจแต่ก็อย่าละเลยค่ะ ร่างกายคนเรามีความมหัศจรรย์หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมบางอย่าง เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจช่วยให้ความดันโลหิตดีขึ้น ทั้งนี้ลองรับประทานอาหารดังกล่าวในปริมาณที่พอเหมาะเป็นประจำเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดความดันโลหิตดูค่ะ
สรุปเนื้อหาจาก: msn.com