สเก็ตบอร์ด

สเก็ตบอร์ด ได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬา Olympic เมื่อปี 2020 ซึ่งปัจจุบัน หากเราดูจากผลงานตามทัวร์นาเมนต์และเหรียญที่ได้เมื่อตอน Tokyo Olympic 2020 และผลงานล่าสุดใน Paris Olympic 2024 คงไม่มีใครปฏิเสธว่านักกีฬาสเก็ตบอร์ดญี่ปุ่นถือเป็นที่สุดของโลกไปแล้ว!

แต่ทว่า หากมองให้ลึกลงไปก็จะพบว่าวงการนี้ในญี่ปุ่นก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาหลาย ๆ ด้านอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเสียงรบกวนซึ่งสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้น และปัญหาจำนวนลานสเก็ตบอร์ดที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในบทความนี้เราจะมาขยายเรื่องราวของ สเก็ตบอร์ดในญี่ปุ่น ให้ได้อ่านกันแบบครบทุกด้าน!

จุดเริ่มต้นความนิยมสเก็ตบอร์ดในญี่ปุ่น

สเก็ตบอร์ด

สเก็ตบอร์ดถือกำเนิดขึ้นในปีค.ศ. 1940 ณ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้น ในปี 1960 ก็ได้เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ต่อมาช่วงปี 1980 ถึง ปี 1990 ก็ได้กลายเป็นยุคทองของสเก็ตบอร์ดเพราะเป็นช่วงที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งพวกเขามักนิยมโชว์ลีลาการเล่นสเก็ตบอร์ดบนถนนในย่านธุรกิจการค้าต่างๆ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับปรับแต่งสเก็ตบอร์ดขึ้นมาโดยเฉพาะ และยังมีการคิดค้นเทคนิคการเล่นที่มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ในปี 1990 เริ่มมีนักสเก็ตบอร์ดชื่อดังระดับโลกเดินทางมาเยือนประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นญี่ปุ่นจึงได้เริ่มจัดงานแข่งขันสเก็ตบอร์ดอย่างเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น จึงอาจเรียกได้ว่าในปี 1990 นั้น เป็นช่วงที่สเก็ตบอร์ดได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ การจัดงานแข่งขันและความนิยมที่แพร่หลายในยุคสมัยนั้น ยังส่งผลต่อวงการสเก็ตบอร์ดของญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันด้วย

คุณพ่อของ ยูโตะ โฮริโกเมะ นักกีฬาสเก็ตบอร์ดญี่ปุ่นเจ้าของเหรียญทองสองปีซ้อนจาก Tokyo Olympic 2020 และ Paris Olympic 2024 ก็เคยเล่นสเก็ตบอร์ดในยุค 90 มาก่อน ซึ่งแน่นอนว่าความชอบของคุณพ่อต่างส่งต่อมายังลูกด้วยเช่นกัน

 
 
 
 
 
この投稿をInstagramで見る
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

堀米雄斗(@yutohorigome)がシェアした投稿

ยูโตะ โฮริโกเมะ เคยให้สัมภาษณ์ว่าปัจจุบันเขายังคงไล่ดูคลิปของนักสเก็ตบอร์ดในยุค 90 อยู่ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ผ่านมานานมากแล้ว แต่สไตล์การเล่นในสมัยนั้นยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสไตล์การเล่นในยุคปัจจุบันได้ และที่สำคัญคือยังสามารถเรียนรู้เทคนิคการเล่นใหม่ ๆ เพิ่มเติมได้ด้วย เรียกได้ว่าในยุค 90 นั้น เป็นยุคที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับวงการสเก็ตบอร์ดของประเทศญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างมาก

สเก็ตบอร์ดในญี่ปุ่น

ปัจจุบัน จากผลงานความสำเร็จของนักกีฬาก็ยังมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติของกลุ่มผู้ปกครองชาวญี่ปุ่นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็มาจากพื้นฐานนิสัยการชอบพาลูกมาเล่นที่สวนสาธารณะของคนญี่ปุ่นอยู่แล้วด้วย การเกิดลานสเก็ตบอร์ดในสวน จึงเป็นเสมือนการส่งเสริมให้ลูก ๆ ได้ออกมาเล่นกีฬา

เหตุผลที่สเก็ตบอร์ดได้รับความนิยมในหมู่เด็กญี่ปุ่น

สเก็ตบอร์ด

เด็กญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกับเด็กประเทศอื่น ๆ ในปัจจุบัน คือเติบโตขึ้นมาท่ามกลางสื่อโซเชียลมีเดียมากมาย ภาพเพอร์เฟอร์แมนซ์สุดเจ๋งในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ของนักกีฬาสเก็ตบอร์ดทำให้เด็กหลายคนเริ่มอยากเล่นได้คูล ๆ แบบนั้นบ้าง! อีกทั้งกระแสของ ยูโตะ โฮริโกเมะ ก็มาแรงและเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้แก่เหล่าเด็ก ๆ

อีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือลักษณะของกีฬาสเก็ตบอร์ดที่แม้จะยาก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าเล่นเป็นแล้วจะสนุกมาก! การเรียนรู้เทคนิค ท่าต่าง ๆ ก็ไม่ต่างจากการเคลียแต่ละด่านในวิดีโอเกมส์ และอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าผู้ปกครองยุคใหม่ก็มองว่าการเล่นสเก็ตบอร์ดช่วยให้ลูก ๆ ได้ออกกำลังกาย ดีกับสุขภาพ จึงทำให้กลายเป็นกีฬาครองใจเด็กญี่ปุ่นยุคนี้

ปัญหาจากสเก็ตบอร์ดและการแก้ไขที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น

ลานสเก็ตบอร์ด

แม้ผลงานความสำเร็จจะช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อกีฬาชนิดนี้ในญี่ปุ่นไปมากกว่าแต่ก่อน แต่ก็เลี่ยงไม่ได้ว่ามุมมองเชิงลบจากปัญหาที่เกิดขึ้นจากสเก็ตบอร์ดก็ยังมีอยู่เช่นกัน เช่น ปัญหาเสียงล้อสเก็ตบอร์ดที่ไถไปกับพื้น สร้างความรำคาญให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง การสร้างรอยตำหนิหรือความเสียหายบนพื้นถนนและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งปัญหาการทิ้งขยะเรี่ยราดของกลุ่มผู้เล่นสเก็ตบอร์ดก็มีให้ได้ยินเช่นกัน

แน่นอนว่าการคิดหาวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นคือหนึ่งในภารกิจที่สมาคมลานกีฬาสเก็ตบอร์ดแห่งประเทศญี่ปุ่น ต้องจัดการเพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่วงการสเก็ตบอร์ดญี่ปุ่น โดยตัวแทนของคณะกรรมการบริหารสมาคมญี่ปุ่นได้เคยกล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้ว่า

“มันเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเล่นสเก็ตบอร์ดอาจสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับประชาชนที่สัญจรผ่านหรืออาศัยอยู่บริเวณนั้น ซึ่งหลายพื้นที่ก็เลือกที่จะแก้ปัญหาโดยการติดป้าย ห้ามเล่นสเก็ตบอร์ดในบริเวณนี้ แต่ทว่า ยิ่งจำกัดหรือออกกฎห้ามมากเท่าไร แรงต้านจากผู้เล่นสเก็ตบอร์ดก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น บางคนก็เล่นต่อโดยไม่สนใจป้ายห้ามนั้น บางคนก็จำใจย้ายไปเล่นยังสถานที่อื่น ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดปัญหาเดิม ๆ ขึ้นอีก

เราจึงคาดหวังว่าจะมีการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ควบคู่ไปกับการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับใช้เล่นสเก็ตบอร์ดโดยเฉพาะ อาจเป็นแค่สถานที่เล็ก ๆ หรือ มุมใดมุมหนึ่งของสวนสาธารณะก็ได้ ถ้ามีจำนวนสถานที่ที่สามารถเล่นสเก็ตบอร์ดได้มากขึ้นล่ะก็ คงจะช่วยทำให้ปัญหาความเดือนร้อนที่เกิดขึ้นลดลงได้”

และด้วยด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของแนวทางการ เพิ่มจำนวนลานสเก็ตบอร์ดให้มากยิ่งขึ้น นั่นเอง ปัจจุบัน จากข้อมูลล่าสุด (ปี 2024) พบว่ามีจำนวนลานสเก็ตบอร์ดอยู่ประมาณ 475 แห่งทั่วประเทศ แต่ถึงกระนั้นก็ดูเหมือนว่าจะยังคงไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้เล่นสเก็ตบอร์ดในปัจจุบัน และสำหรับคนที่มุ่งหน้าจะเป็นโปร การออกเดินทางไปฝึกที่ต่างประเทศ ก็ยังถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพราะสามารถฝึกซ้อมและร่วมแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ต่าง ๆ ได้สะดวก

ทั้งนี้ ในวันข้างหน้าคนในวงการก็ยังหวังกันว่าจะมีสถานที่ให้ได้เล่นสเก็ตบอร์ดอย่างสบายใจเพิ่มมากขึ้น เพราะนั่นหมายถึงอาจจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการค้นพบนักสเก็ตบอร์ดที่มีพรสวรรค์คนอื่น ๆ อีกก็ได้ ดังนั้นเรามาเอาใจช่วยและติดตามวงการสเก็ตบอร์ดญี่ปุ่นกันต่อไปว่าพวกเขาจะสร้างตำนานแบบไหนให้เราได้ดูกันอีกในอนาคต!

สรุปเนื้อหาจาก: NHK jspa toyokeizai parasapo.tokyo
เรียบเรียงโดย AONGSAMA

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า