ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น นอกเหนือไปจากวัฒนธรรมหรือมารยาทการปฏิบัติตนอันเป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่นที่ต้องพบเจอเเล้ว เชื่อได้เลยว่าหลายต่อหลายคนต้องเคยประสบกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรดีกันอยู่บ้างใช่ไหมคะ?

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นที่ญี่ปุ่นเท่านั้น การที่เราใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศที่ซึ่งไม่ใช่ประเทศที่เราเกิดหรือเติบโตมา ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะรู้สึกเป็นกังวลในเรื่องต่าง ๆ มากมาย ซึ่งบางเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดหรือต้องห้ามอะไรในประเทศของเรา แต่ในประเทศนั้น ๆ อาจจะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำหรือปฏิบัติก็เป็นได้ และเมื่อเราทำผิดหรือปฏิบัติตนไม่ถูกต้องเหมาะสม นอกจากที่จะทำให้คู่สนทนาหรือฝ่ายตรงข้ามรู้สึกประหลาดใจหรือรู้สึกไม่ดีแล้ว ก็อาจจะถูกตำหนิติเตียนแล้วทำให้รู้สึกไม่ดีกับคู่สนทนาหรือฝ่ายตรงข้ามรวมไปถึงกลายเป็นประสบการณ์อันไม่น่าประทับใจไปอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น วันนี้เราจะมาอธิบายให้ทราบและเข้าใจถึงข้อควรปฏิบัติหรือมารยาทที่ควรกระทำหรือไม่ควรทำกันที่ญี่ปุ่นกันค่ะ!

มารยาทแบบญี่ปุ่นที่ทำให้ชาวต่างชาติประหลาดใจใน “เรื่องการรับประทานอาหาร”

พฤติกรรมหรือข้อควรปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคนญี่ปุ่นนั้นมีมากมายหลายอย่าง แต่ในครั้งนี้เราจะนำเสนอเฉพาะในส่วนที่เห็นว่าเป็นพฤติกรรมหรือข้อควรปฎิบัติที่ควรระมัดระวังและให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ตามไปดูกันว่ามีอะไรบ้างกันเลยค่ะ

1. การพูดว่า “อิตาดากิมัส” และ “โกะจิโซซามา”

อิตาดากิมัส

ที่ญี่ปุ่นเวลาก่อนที่จะรับประทานหรือกินอาหารมักจะพูดว่า “อิตาดากิมัส” (Itadakimasu = いただきます) และเมื่อรับประทานหรือกินอาหารเสร็จแล้วก็จะพูดว่า “โกะจิโซซามา” (Gochisousama = ごちそうさま) เสมอ ซึ่งถ้าไม่พูดแล้วเริ่มรับประทานอาหารทันทีก็อาจจะถูกมองว่าบุคคลผู้นี้เป็นคนที่ไม่ค่อยมีมารยาท ไม่รู้จักกาลเทศะเท่าไรนัก ซึ่งในต่างประเทศในบางศาสนาหรือในบางวัฒนธรรมก็จะมีการพูดหรือกล่าวเพื่อแสดงถึงการขอบคุณพระเจ้าก่อนจะรับประทานหรือกินอาหารเช่นกัน แต่ในญี่ปุ่นการพูดแบบนี้ไม่ได้จำกัดว่าบุคคลผู้นั้นต้องนับถือศาสนาอะไร การพูดหรือกล่าวก่อนรับประทานอาหารสำหรับคนญี่ปุ่นถือว่าเป็นการแสดงความขอบคุณถึงผู้ผลิต (ในที่นี้คือเกษตรกรหรือพ่อค้าผู้ผลิตวัตถุดิบหรืออาหารนั้นๆ) ในส่วนของบุคคลที่ต่อให้ไม่นับถือศาสนา หรือไม่มีศาสนาก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะกล่าวหรือพูดก่อนหรือหลังรับประทานอาหารเสร็จ

2. กฏระเบียบข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบมีค่อนข้างมาก

ตะเกียบ
การใช้ตะเกียบเลื่อนจานอาหารเข้ามาหาตน “โยเสบะชิ”(Yosebashi = 寄せ箸) เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

“ตะเกียบ” สำหรับบางคนที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้หรือเพิ่งเคยใช้ตะเกียบเป็นครั้งแรกก็อาจจะรู้สึกว่าตะเกียบนั้นใช้ลำบากหรือใช้ตะเกียบได้ไม่ถนัดมือ โดยที่ญี่ปุ่นนอกจากที่จะใช้ตะเกียบกันเป็นส่วนใหญ่ในการรับประทานอาหารแล้ว มารยามเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบก็มีเยอะมากเช่นกัน ซึ่งหลายอย่างก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ยกตัวอย่างเช่น การใช้ตะเกียบเลื่อนจานอาหารเข้ามาหาตนหรือที่เรียกกันว่า “โยเสบะชิ”(Yosebashi = 寄せ箸) หรือ การวางตะเกียบบนจานอาหารที่เรียกว่า “วาตะชิบะชิ” (Watashibashi = 渡し箸) เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นชาวต่างชาติก็ควรที่จะทราบหรือเรียนรู้ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบไว้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรามัวแต่เป็นกังวลคอยระวังการใช้ตะเกียบมากเกินไป การรับประทานอาหารก็จะไม่สนุก ขาดอรรถรสไป ดังนั้นไม่ต้องซีเรียสมาก รู้และปฏิบัติตามอย่างพอดีและเหมาะสมก็เพียงพอค่ะ

3. การยกถือชามข้าวหรือถ้วยภาชนะขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร

ถ้วยภาชนะ

ในหลายประเทศไม่เฉพาะแค่ในสหรัฐอเมริกาหรือประเทศแถบยุโรป ประเทศในแถบเอเชียซึ่งอยู่ใกล้กับญี่ปุ่นเช่น เกาหลีหรือจีน การยกถือชามข้าวหรือถ้วยซุปขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่ทว่าทึ่ญี่ปุ่นการยกถือชามข้าวหรือถ้วยที่ใส่ซุปมิโสะขึ้นเมื่อรับประทานอาหารถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ทำกัน และยังถือว่าเป็นมารยาทที่ถูกต้องเหมาะสมอีกด้วย

4. การทำเสียงดังเวลาซดอาหารประเภทเส้น

เส้น

ในต่างประเทศเหมือนที่หลายคนทราบกันดี เวลาที่รับประทานอาหารประเภท ซุป ผู้คนจะไม่นิยมกินหรือซดซุปแบบที่ทำให้เกิดมีเสียงดังขึ้น เพราะจะถือว่าไม่มีมารยาทในการรับประทานอาหาร แต่ในญี่ปุ่นวัฒนธรรมการทำเสียงดังเวลาซดอาหารประเภทเส้นเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นมักจะนิยมทำกัน โดยพฤติกรรมการทำเสียงดังเวลากินอาหารประเภทเส้นถือกำเนิดมาจากการกินโซบะ เนื่องจากการซดดูดเส้นโซบะขึ้นมาจะทำให้ผู้กินสามารถรับรู้ถึงกลิ่นหอมของเส้นโซบะที่ลอยขึ้นมาแตะจมูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งต่อมาพฤติกรรมดังกล่าวก็ได้แพร่หลายไปในการรับประทานกินอาหารประเภทเส้นต่าง ๆ ของคนญี่ปุ่น จึงทำให้ในปัจจุบันเรามักจะพบเห็นได้อยู่ตลอดเวลาว่า คนญี่ปุ่นเมื่อรับประทานกินอาหารประเภทเส้น พวกเขามักจะชอบซดเส้นและทำเสียงดัง แต่ทว่าการทำเสียงดังเวลารับประทานทานอาหาร ในบางครั้งก็อาจจะถือว่าเป็นการส่งเสียงดังรบกวนบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้ ดังนั้นควรระมัดระวังที่จะไม่ส่งเสียงดังเกินโดยไม่จำเป็นไปนะคะ

5. การเรียกพนักงานในร้านอาหาร

ร้านอาหาร

ที่ต่างประเทศเวลาจะเรียกพนักงานในร้านอาหาร ส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะใช้วิธีการมองส่งสายตาเพื่อสื่อสารเป็นหลัก และเมื่อพนักงานได้มีการมองสบสายตากลับมา ลูกค้าก็ถึงจะค่อยทำการยกมือขึ้นเพื่อเรียกพนักงานเข้ามาหา แต่ทว่าในที่ญี่ปุ่น ผู้คนมักจะนิยมทำการยกมือขึ้นแล้วเรียกพนักงานหรือไม่ก็ตะโกนเรียก โดยพูดคำว่า “สุมิมาเซ็ง” (Sumimasen = すみません) ซึ่งเหมือนการพูดว่า “ขอโทษค่ะ/ครับ” กัน

แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ควรที่จะระมัดระวังในเรื่องของระดับเสียงด้วยว่าร้านอาหารที่เราไปใช้บริการนั้นเป็นร้านอาหารประเภทใด ถ้าเป็นร้านอาหารหรือภัตตาคารที่ไม่ค่อยมีเสียงดังรบกวน ก็อาจจะเรียกพนักงานด้วยการไม่ส่งเสียงดังมากจนเกินไป ในทางกลับกันถ้าเป็นร้านอาหารที่เน้นไปในการนั่งหรือดื่มกินเหล้าเเบบร้านอิซากายะที่ค่อนข้างมีเสียงดัง ผู้เรียกก็ควรที่จะเพิ่มระดับเสียงให้มากขึ้นเพื่อให้พนักงานสามารถได้ยินเสียงของเราเวลาที่เราเรียกได้

6. ไม่ทานอาหารหรือเครื่องดื่มเหลือเอาไว้

อาหาร

แม้ว่าในโลกใบนี้ของเราจะมีหลายประเทศที่มีวัฒนธรรมความคิดที่ว่า “ไม่ควรกินอาหารจนหมดจาน ควรที่จะเหลืออาหารไว้บ้างเพื่อเป็นการรักษามารยาท” แต่ที่ญี่ปุ่นการไม่ทานอาหารหรือเครื่องดื่มเหลือทิ้งเอาไว้ ถือเป็นมารยาทที่ถูกต้องเหมาะสม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีบางร้านอาหารที่โอเคกับการที่ลูกค้าจะทานอาหารไม่หมดแล้วต้องการที่จะนำอาหารกลับบ้าน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกร้านจะสามารถทำพฤติกรรมเช่นนี้ได้ ดังนั้นเวลาที่เราสั่งอาหารก็ควรจที่จะคำนึงถึงปริมาณของอาหารว่าตัวเราสามารถรับประทานอาหารที่สั่งมาได้หมดไหม ถ้าคิดว่าไม่สามารถทำได้ ก็ควรที่จะสั่งอาหารในปริมาณที่พอดีต่อการรับประทานเท่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองอาหารและไม่ให้เกิดปัญหาการไม่มีมารยาทตามมา

มารยาทแบบญี่ปุ่นที่ทำให้ชาวต่างชาติประหลาดใจใน “เรื่องของมารยาททางธุรกิจ”

นอกเหนือไปจากมารยาทและพฤติกรรมในเรื่องของการรับประทานอาหารแล้ว ญี่ปุ่นยังมีมารยาททางธุรกิจที่เป็นรูปแบบเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกด้วย ดังรายละเอียดตัวอย่างบางส่วนตามด้านล่างต่อไปนี้ค่ะ

1. รูปแบบฟอร์มในการเขียนอีเมลมีค่อนข้างมาก

อีเมล

วิธีการเขียนอีเมลของคนญี่ปุ่นมักจะต้องเป็นไปตามรูปแบบหรือโครงสร้างประโยคที่ถูกกำหนดเอาไว้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้นการเขียนอีเมลของชาวต่างชาติก็จะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยาก เนื่องจากแค่เขียนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ แต่ทั้งนี้ ในเรื่องของการใช้คำหรือประโยคสุภาพก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติควรที่จะต้องท่องจำ ใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม

2. ทำทุกอย่างแบบรวดเร็ว

time

คนญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นคนประเภทที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของ “เวลา” เป็นอย่างมาก แม้ว่าจะเป็นเวลาแค่เพียง 1 วินาทีหรือ 1 นาทีก็ตามก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เห็นได้จากการที่เวลารถไฟหรือรถบัสเกิดการมาล่าช้าเกิดขึ้น ก็จะมีการแสดงหรือประกาศว่า “ล่าช้า” ทันที ดังนั้นในเรื่องของการประชุมหรือคุยติดต่อธุระทำธุรกิจก็เช่นกัน เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการประชุมหรือคุยติดต่อธุรกิจให้สำเร็จลุล่วงไปตามแผนที่กำหนดไว้ คนญี่ปุ่นก็มักที่จะเตรียมตัวทำไว้ก่อนล่วงหน้า 5 – 10 นาที เพราะฉะนั้นชาวต่างชาติก็ควรที่จะรักษาเวลาดังกล่าวให้ดีเหมือนคนญี่ปุ่นด้วย

3. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการรับโทรศัพท์หรือตอบคำถาม

โทรศัพท์

ในการทำงานส่วนใหญ่การรับโทรศัพท์ก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของการทำงาน ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้คำหรือรูปแบบของประโยคแสดงความสุภาพยกย่องเวลาที่ต้องรับโทรศัพท์หรือตอบคำถาม โดยส่วนใหญ่เวลารับโทรศัพท์หรือตอบคำถามก็มักจะมีอาการแสดงออกให้เห็นถึงการขาดความมั่นใจ เพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะเครียดหรือคิดวิตกกังวลมากจนเกินไป ควรมีความมั่นใจในตัวเองจะทำให้ผลงานที่ทำออกมาดีค่ะ

4. การปฎิบัติตนเวลาสัมภาษณ์งาน

สัมภาษณ์

การปฎิบัติตนเวลาสัมภาษณ์งานก็เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ แม้ว่าในต่างประเทศจะไม่ค่อยมีกฏข้อบังคับหรือรูปแบบกำหนดของเสื้อผ้าที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานเอาไว้ว่าควรเป็นเช่นไร แต่ที่ญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้เกิดการเสียมารยาทขึ้น ควรที่จะเลือกใส่สูทสำหรับสัมภาษณ์งานโดยเฉพาะไปเมื่อเวลาที่มีสัมภาษณ์งานค่ะ

มารยาทแบบญี่ปุ่นที่ทำให้ชาวต่างชาติประหลาดใจใน “เรื่องอื่นๆ”

นอกเหนือไปจากมารยาทในเรื่องของการรับประทานอาหารและในเรื่องมารยาททางธุรกิจแล้ว ญี่ปุ่นยังมีมารยาทที่เป็นเอกลักษณ์อีกหลาย ๆ ในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน โดยตัวอย่างเด่น ๆ ที่จะยกมาให้เห็นก็จะเป็นไปตามด้านล่างต่อไปนี้ค่ะ

1. การปฏิบัติตัวในขณะที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

ระบบขนส่งสาธารณะ

ในต่างประเทศเวลาที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะการใช้โทรศัพท์พูดคุยถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดหรือเสียมารยาทอะไร แต่ที่ญี่ปุ่นนอกเหนือไปจากที่จะห้ามใช้โทรศัพท์ในขณะที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะแล้ว การพูดคุยเสียงดังก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเช่นกันค่ะ ดังนั้นถ้าต้องใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ก็ควรที่จะคิดพึงระมัดระวังเสมอว่าไม่ควรที่จะพูดคุยส่งเสียงดังเกินความจำเป็นนะคะ

2. ใบหน้ายิ้มแย้มเป็นสิ่งที่สำคัญในการให้บริการลูกค้า

บริการลูกค้า

ถึงแม้ว่าทุกสายอาชีพอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนี้ แต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้ว ที่ญี่ปุ่นเวลาให้บริการลูกค้า “ใบหน้ายิ้มแย้ม” ถือว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างถูกให้ความสำคัญและจะถูกมองเป็นหลักค่ะ ดังนั้นชาวต่างชาติคนใดที่คิดว่าอยากจะทำงานในด้านสายการให้บริการ ถ้ามีโอกาสก็ลองสังเกตพนักงานคนญี่ปุ่นเวลาที่ให้บริการดูนะคะว่ามีการปฏิบัติตนต่อลูกค้าอย่างไร แล้วนำมาปรับใช้กับตัวเองดูกันนะคะ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นได้ค่ะ

3. การตอบรับโดยพูดหรือพยักหน้าเป็นช่วง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากำลังฟังอีกฝ่ายอยู่

พยักหน้า

ในต่างประเทศการตอบรับโดยพูดหรือพยักหน้าเป็นช่วงๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่ากำลังฟังอีกฝ่ายอยู่ อาจจะถือว่าเป็นการพูดแทรกบทสนทนา ซึ่งจะทำให้ผู้พูดหรือฝ่ายตรงข้ามรู้สึกไม่ดีขึ้นได้ แต่กลับกันที่ญี่ปุ่นการตอบรับโดยพูดหรือพยักหน้าเป็นช่วงๆ เป็นเรื่องที่ควรทำเนื่องจากเป็นการแสดงให้ผู้พูดหรือฝ่ายตรงข้ามทราบว่าเราสนใจหรือกำลังตั้งใจฟังในเรื่องที่เขาพูดอยู่ โดยคำที่คนญี่ปุ่นมักใช้กันแล้วชาวต่างชาติสามารถนำไปใช้ตามได้ ก็มีเช่น “เข้าใจแล้ว” (Naruhodo = なるほど) หรือ “เป็นเช่นนั้นเอง” (Sounan desu ne = そうなんですね) ก็จะทำให้บทสนทนาลื่นไหลได้ไม่ติดขัด แต่ทว่าถ้ามีการพูดแทรกหรือพยายามพูดโต้กลับ รวมไปถึงพยายามเปลี่ยนเรื่องที่ผู้พูดหรือฝ่ายตรงข้ามกำลังพูดอยู่ จะถือว่าเป็นการกระทำที่เสียมารยาท จึงควรระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นพิเศษนะคะ

4. ให้ความสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอย่างมาก

เพื่อนร่วมงาน

ในต่างประเทศการแบ่งเส้นระหว่างเรื่องงานออกจากเรื่องส่วนตัวถือว่าเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกัน แต่ที่ญี่ปุ่นการให้ความสำคัญในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าในที่ทำงาน รวมไปถึงเพื่อนร่วมงานถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่แปลกแต่อย่างใด ดังนั้นการออกไปกินข้าวด้วยกัน เล่นกีฬารวมไปถึงทำกิจกรรมส่วนตัวต่าง ๆ ด้วยกันในวันหยุดถือว่าเป็นเรื่องที่คนญี่ปุ่นมักจะทำกันอยู่เป็นประจำ แม้ว่าอาจจะมีต่างกันไปบ้างตามองค์กร แต่ก็มีคนญี่ปุ่นหลายคนต่างพากันเชื่อกันว่าการมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจะทำให้การทำงานเป็นทีมประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ในฐานะที่เราเป็นคนต่างชาติการมีความสัมพันธ์กับหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ทั้งนี้ก็ควรที่จะคำนึงถึงความเหมาะสมว่าเข้ากับตัวเองด้วยหรือไม่ด้วยนะคะ ไม่ควรฝืนถ้าไม่ไหวค่ะ

agrument

ญี่ปุ่นถือว่าเป็นชาติที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี วิธีการหรือแนวความคิดทางด้านมารยาท รวมไปถึงข้อควรฏิบัติหลายอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งอาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับชาติอื่น ๆ อยู่ นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ทางด้านภาษาญี่ปุ่นแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเวลาที่ไปเที่ยวที่ญี่ปุ่น หรือสามารถใช้ชีวิต รวมไปถึงทำงานร่วมกับคนญี่ปุ่นได้อย่างไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เราก็ควรที่จะเรียนรู้ ปฏิบัติและทำตามกฏเกณฑ์ของญี่ปุ่นไปด้วยนะคะ 

สรุปเนื้อหาจาก: f-ship.jp
เรียบเรียงโดย : XROSSX

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า