一カ月, 一ヶ月, 一か月

เพื่อน ๆ ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะต้องเคยเจอคำว่า ikka getsu (いっかげつ) ที่แปลว่า 1 เดือน ใช่ไหมคะ แล้วสังเกตไหมคะว่าคำนี้เขียนเป็นคันจิได้หลายแบบมาก มีทั้ง 一カ月 ทั้ง 一ヶ月 ทั้ง 一か月 แล้วคันจิแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ใช้เหมือนกันหรือไม่ ควรใช้แบบไหนดี วันนี้จะมาอธิบายให้ทราบแบบเข้าใจง่าย ๆ กันค่ะ

一カ月, 一ヶ月, 一か月 แตกต่างกันอย่างไร ?

一カ月, 一ヶ月, 一か月

คำว่า いっかげつ (ikka getsu) สามารถเขียนเป็นคันจิได้หลากหลายแบบทั้ง

  • 一カ月
  • 一ヵ月
  • 一ケ月
  • 一ヶ月
  • 一か月
  • 一箇月

คันจิแต่ละแบบมีที่มาที่เชื่อมโยงต่อกันเป็นทอด ๆ ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีคำว่า いっかげつ ใช้คันจิว่า 一箇月 โดยตัว 箇 จะอ่านว่า ka, ko เป็นคำลักษณะนามที่ใช้ในการนับจำนวนสิ่งต่าง ๆ เช่น

  • 所 (ikkasho) 1 ที่, 1 แห่ง
  • 所 (nikasho) 2 ที่, 2 แห่ง
  • 所 (sankasho) 3 ที่, 3 แห่ง
  • (ikko) 1 อัน, 1 ชิ้น
  • (niko) 2 อัน, 2 ชิ้น
  • (sanko) 3 อัน, 3 ชิ้น

ต่อมาตัว 箇 ก็เริ่มเปลี่ยนเป็นตัว ヶ ซึ่งสาเหตุก็มีหลายทฤษฎี อย่างเช่น

  1. ヶ ย่อมาจากส่วนบนของตัว 箇
  2. ตัว 箇 มีจำนวนเส้นเยอะ จึงมีการเขียนคันจิแบบย่อขึ้นมาเป็นตัว 个 และต่อมาก็กลายเป็นตัว ヶ

ด้วยเหตุนี้คำว่า いっかげつ จึงเปลี่ยนไปใช้คันจิว่า 一ヶ月 แทน โดยในตอนแรกจะใช้เป็นตัว ヶ พิมพ์เล็ก แต่ดูเหมือนว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีการใช้ตัว ケ พิมพ์ใหญ่ด้วยเช่นกัน

บางคนอาจเคยสงสัยว่าในเมื่อใช้ตัว ヶ แล้วทำไมถึงไม่อ่านว่า ke แต่อ่านว่า ka ? นั่นก็เพราะว่านี่ไม่ใช่ตัวคาตาคานะถึงแม้หน้าตาจะเหมือนกันก็ตาม แต่ดังที่กล่าวไปว่าตัวนี้เป็นคันจิที่ย่อมาจากตัว 箇 และมีคำอ่านคือ ka, ga, ko ตามการใช้งาน ซึ่งหากใช้เป็นคำลักษณะนามในการนับจำนวนสิ่งต่าง ๆ จะอ่านว่า ka กับ ko เช่น

  • 月 (ikka getsu) 1 เดือน
  • 所 (sankasho) 3 ที่, 3 แห่ง
  • 条 (gokajou) 5 ข้อ
  • (rokko) 6 อัน, 6 ชิ้น
  • (jukko) 10 อัน, 10 ชิ้น

นอกจากนี้เราจะพบการใช้ตัว ヶ พิมพ์เล็กในชื่อสถานที่ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งหากอยู่ในชื่อเฉพาะหรือชื่อสถานที่จะอ่านว่า ga เช่น

  • 谷 (hatagaya)
  • 崎 (chigasaki)
  • 吉野里遺跡 (yoshinogari iseki)
  • 浦 (kasumigaura)
  • 岳 (yatsugatake)

และเนื่องจากตัว ケ อ่านว่า ka จึงทำให้มีการนำตัว カ ที่เป็นคาตาคานะกับตัว か ที่เป็นฮิรางานะมาใช้ด้วย เกิดเป็น 一カ月, 一ヵ月, 一か月 ขึ้นมา

一カ月, 一ヶ月, 一か月 ที่ถูกต้องคือแบบไหน ?

一カ月, 一ヶ月, 一か月

ความจริงแล้วไม่ว่าจะเขียนแบบไหนก็สามารถใช้ได้ทั้งหมด ถูกต้องทุกแบบ และนอกจากตัวเลขคันจิแล้วก็สามารถใช้กับตัวเลขอารบิกได้ด้วย เช่น 1カ月, 1ヶ月, 1か月 แต่ในแต่ละบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ก็อาจจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้สำหรับสื่อขององค์กรนั้น ๆ ว่าให้ใช้แบบใด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สะเปะสะปะ ตัวอย่างเช่น NHK, Nippon TV, Yomiuri Shinbun จะใช้ 1か月 ส่วน Fuji TV, TV Asahi, Nikkei Shinbun จะใช้ 1カ月 ส่วนในเอกสารราชการ หากเป็นตัวเลขอารบิก จะใช้ 1か月 แต่หากเป็นตัวเลขคันจิ จะใช้ 一箇月

ถึงแม้หน้าตาคันจิจะไม่เหมือนกัน แต่ไม่ว่าจะ 一カ月, 一ヶ月 หรือ 一か月 ก็ล้วนมีความหมายเหมือนกันและสามารถใช้งานได้ทุกแบบ สิ่งที่สำคัญคือการกำหนดใช้ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เมื่อเราต้องการเขียนหรือจดบันทึกอะไรก็ตาม ควรใช้ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ จะทำให้ดูเป็นระเบียบ ไม่แปลกแยก ไม่สะเปะสะปะ ดูดีกว่าการใช้หลายแบบปะปนกันนะคะ

สรุปเนื้อหาจาก jpnculture

AsmarCat

นักเขียนทาสแมวที่คอสเพลย์เป็นงานอดิเรก ชื่นชอบ Pop Culture ของญี่ปุ่นเป็นพิเศษ ดูเมะ ฟังเพลง และ Cafe Hopping มามองญี่ปุ่นในมุมใหม่ ๆ ไปด้วยกันนะคะ

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า