"ขนมอาราเระ" ต่างจากเซมเบ้ตรงไหน?

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน จากที่คราวก่อนได้กล่าวถึง ขนมเซมเบ้ ซึ่งจัดว่าเป็นขนมที่ทำจากข้าวอย่างหนึ่งไปแล้วนะครับ คราวนี้ขอพูดถึงขนมที่ทำจากข้าวเจ้าอีกอย่างซึ่งกรอบ ๆ เคี้ยว ๆ ได้เหมือนกันแต่รูปร่างไม่เหมือนกันนั่นคือ “ขนมอาราเระ” ครับ

บรรดาขนมของญี่ปุ่นที่เป็นขนมขบเคี้ยวที่ทำจากข้าวนั้น เรียกรวม ๆ ว่า “เบย์คะ” (米菓) ซึ่งก็เป็นเพียงชื่อหมวดหมู่ที่ใช้ตามในซูเปอร์มาร์เก็ต แน่นอนพูดถึงขนมที่ทำจากข้าวเจ้านั้น ก็ต้องนึกถึง “เซมเบ้” กับ “อาราเระ” กัน (พูดถึงชื่อขนมนะครับอย่าไพล่ไปนึกถึงดร. เซมเบ้กับหนูน้อยอาราเล่ล่ะ คงรู้แล้วสินะว่าคนเขียนแกเอาชื่อขนมมาตั้งเป็นชื่อตัวการ์ตูนซะงั้น)

แล้วมันต่างกันตรงไหน?

ขนมอาราเระ

ขนมอาราเระนั้นทำจาก “ข้าวเหนียว” (โมจิโคเมะ もち米) เคี้ยวเข้าปากแล้วมันจะหนึบ ๆ หน่อย แต่เซมเบ้ทำจากข้าวเจ้า (อุรุจิโคเมะうるち米 คือข้าวอย่างที่ใช้หุงกิน) อย่างที่เรากินกันมันก็จะกรอบแกรบอย่างข้าวเกรียบ

ขนมอาราเระนั้นว่ากันว่าเกิดจากการที่คนสมัยโบราณเอาโมจิ (แป้งข้าวเหนียวตำ) ที่ตากแห้งเอง มานาบกับแผ่นเหล็กให้มันร้อนมันพองแล้วก็กิน เป็นของทำกินเองในครัวเรือน ใช้อุปกรณ์ในบ้านตั้งแต่ครก สาก หวดไม้ไผ่ มีดทำครัว เตาปิ้ง เป็นมาอย่างนั้นจนถึงครึ่งหลังของยุคเมจิถึงเริ่มทำขายเป็นอุตสาหกรรม

วิธีทำขนมอาราเระสมัยนี้คือ หลังจากนวด ๆ ทุบ ๆ แป้งข้าวเหนียวแล้วก็เอาไปแช่เย็นเพื่อให้แห้งไวขึ้น แล้วค่อยเอาไปทำเป็นรูปทรง ส่วนขนมเซมเบ้นั้นเป็นแป้งข้าวเจ้า พอทุบแล้วก็เอาไปทำเป็นรูปต่าง ๆ ได้เลย

พูดไปแล้ว ขนมอาราเระนั้นมีหลายรูปทรง หลายรสชาติ เค็มก็มี หวานก็มี เช่น โนริมากิอาราเระ (อาราเระห่อสาหร่าย),  “คาคิ โนะ ทาเนะ” (柿の種 อาราเระทรงเหมือน “เมล็ดลูกพลับ”) และที่น่าสนใจคือ ฮินะอาราเระ เป็นขนมที่เขาใช้กันในงานฮินะมัตสึริ ภาพจำที่คนรู้จักคือขนมเม็ดเล็กๆ หวานๆ หลากสี แต่นั่นมันเป็น “ฮินะอาราเระ” อย่างของคนคันโตครับ ฮินะอาราเระอย่างคนคันไซนั้นเม็ดโตกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางราว 1 ซม. และปรุงรสเกลือหรือโชยุ สรุปคือเป็นขนมเค็ม

ฮินะอาราเระ

สมัยก่อนผู้เขียนนั่งกินข้าวในแคนทีนที่โรงงาน เขาเอา “ขนมข้าวญี่ปุ่น” ใส่ห่อพลาสติกขายห่อละห้าบาท ส่วนใหญ่จะเป็นขนมอาราเระ “แบบเค็ม” อย่างโนริมากิอาราเระ และคาคิ โนะ ทาเนะ ใส่ปน ๆ มา ผมคิดว่าขนมแบบนี้มีในไทยนานแล้วแหละ มีโรงงานทำขายในไทยด้วย แค่ว่าคนไม่รู้จักว่าจริงๆ เรียกว่า “อาราเระ” เท่านั้นเอง…

ขอให้เจริญอาหารนะครับ

สรุปเนื้อหาจาก Okashi to Watashi
ผู้เขียน: TU KeiZai-man

conomin

conomin คือกลุ่มนักเขียนใหม่ของ conomi ที่คอยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่น เพื่อคนรักญี่ปุ่น จากปลายปากกาคนรักญี่ปุ่นด้วยกัน

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า