เซ่นไหว้ แท่นบูชาพระ

เกือบทุกบ้านที่มีผู้สูงอายุในญี่ปุ่นมักมี แท่นบูชาพระ หรือ Butsudan (仏壇) ซึ่งเป็นที่วางเครื่องบูชาต่าง ๆ ทางศาสนาพุทธ เช่น ธูป เทียน แก้วน้ำ รูปถ่าย และป้ายชื่อของบรรพบุรุษที่เสียชีวิตแล้ว ในญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 13-16 สิงหาคมของทุกปีถือเป็น เทศกาลโอบ้ง (Obon, お盆) ซึ่งเป็นเทศกาลเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าในช่วงเวลานั้นวิญญาณของบรรพบุรุษที่ตายไปแล้วจะกลับมายังโลกภูมิเพื่อมาหาลูกหลาน คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงกลับบ้านไปเยี่ยมครอบครัวและเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ รวมทั้งไปสุสานและจัดของเซ่นไหว้ที่แท่นบูชาพระที่บ้าน มาดูกันว่ามีสิ่งของอะไรบ้างที่คนญี่ปุ่นบอกต่อกันว่าไม่ควรใช้เซ่นไหว้บรรพบุรุษที่แท่นบูชาพระ

5 สิ่งที่ไม่ควรใช้เซ่นไหว้แท่นบูชาพระในบ้าน

1. เนื้อสัตว์และเนื้อปลา

ของเซ่นไหว้

เนื้อสัตว์และเนื้อปลาได้มาจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงไม่นำเนื้อสัตว์และปลามาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่แท่นบูชาพระ แต่หากผู้ล่วงลับชอบทานเนื้อสัตว์เป็นอย่างมากตอนที่มีชีวิตอยู่ก็อาจอนุโลมให้ใช้เซ่นไหว้ได้แต่ต้องปรุงให้สุกและใส่ในจานเซ่นไหว้

2. อาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศที่มีกลิ่นรุนแรง

ของเซ่นไหว้

อาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศที่มีกลิ่นรุนแรง ได้แก่ ต้นหอมญี่ปุ่น กระเทียม ผักกุยช่าย รัคเคียวหรือหลักเกียว และต้นขิงดอง (ฮาจิกามิ) ก็เป็นสิ่งต้องห้ามในการเซ่นไหว้แท่นบูชาพระ

3. อาหารที่เน่าเสียง่าย

ของเซ่นไหว้

เนื่องจากต้องวางเครื่องเซ่นบูชาไว้หลายวัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงผลไม้และอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย

4. ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง

ของเซ่นไหว้

โดยปกติคนญี่ปุ่นมักประดับดอกไม้ไว้ที่แท่นบูชาพระในช่วงเทศกาลโอบ้ง แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมแรง เพราะกลิ่นของดอกไม้จะไปบดบังกลิ่นหอมของธูป อีกทั้งกลิ่นของดอกไม้อาจซึมเข้าไปในอาหารที่วางเซ่นไหว้ไว้ด้วย

5. พืชและดอกไม้ที่มีหนาม

แท่นบูชาพระ

พืชและดอกไม้ที่มีหนามเช่นดอกกุหลาบอาจทิ่มแทงจนทำให้เกิดเลือดออก ทำให้เป็นสิ่งต้องห้ามในการนำมาเซ่นไหว้แท่นบูชาพระ แต่หากดอกกุหลาบเป็นดอกไม้ที่ชื่นชอบของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วก็ให้ลิดเอาหนามออกให้หมดก่อนเซ่นไหว้ แต่ควรหลีกเลี่ยงดอกกุหลาบที่มีกลิ่นหอมแรง

สิ่งที่คนญี่ปุ่นใช้เซ่นไหว้แท่นบูชาพระ

ของเซ่นไหว้

ในทางกลับกัน สิ่งที่คนญี่ปุ่นแนะนำให้เซ่นไหว้แท่นบูชาพระ ได้แก่ ธูป ดอกไม้ เช่น ดอกลิลลี่และกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส ขนมหวานที่เก็บได้นานไม่เน่าเสียง่าย ขนมที่แบ่งใส่จานขนาดเล็ก และชาโปรดของผู้ล่วงลับไปแล้ว

คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนา แต่ใช้หลักปฏิบัติทางความเชื่อชินโตเมื่อมีชีวิตอยู่ และเมื่อเสียชีวิตก็ใช้หลักปฏิบัติทางศาสนาพุทธในการประกอบพิธีกรรม เทศกาลก็โอบ้งที่ญี่ปุ่นนั้นหากเปรียบเทียบกับไทยก็เหมือนกับวันสารทไทยที่มีขึ้นเพื่อแสดงความเคารพและความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับของที่จะนำมาเซ่นไหว้นั้นอาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศโดยขึ้นอยู่กับความเชื่อของผู้คนในประเทศนั้น ๆ

สรุปเนื้อหาจาก: osohshiki

ซากุระ เมืองร้อน

แม่บ้านญี่ปุ่นลูกสองผู้รักการทำอาหาร หลงใหลในความงดงามของดอกไม้และธรรมชาติ และชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อให้แข็งแรงและสวยไปนานๆ ขอฝากเนื้อฝากตัวเพื่อแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ในมุมมองที่หลากหลายให้กับเพื่อนผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ไอคอน PDPA

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้บริการ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า